บทสวดมนต์ก่อนนอน บทแผ่เมตตา

บทสวดอุกาสะ

บทสวดอุกาสะ

พิธีขอบรรพชาอุปสมบท (แบบอุกาสะ)

คู่มือบรรพชาอุปสมบท : วัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร

วิธีการท่องคำขอบรรพชาอุปสมบท
          นาคที่จะท่องคำบรรพชาอุปสมบทนี้ ข้อแรกต้องอ่านคำที่จะท่องให้ชัดเจนถูกต้องอักขระและเสียงโดยแน่ชัดเสียก่อน และเริ่มท่องจำในภายหลัง ถ้าสงสัยเสียงของอักขระคำใด ต้องสอบถามท่านผู้รู้เสียก่อน มิฉะนั้นจะทำให้ท่องผิดและจำยากยิ่งขึ้น  ข้อสำคัญต้องท่องออกเสียง อย่าท่องในใจ เพราะจะเป็นเหตุให้การกล่าวคำบรรพชาอุปสมบทไม่คล่องปาก ในเวลาบรรพชาอุปสมบท บทที่จะเริ่มตั้งแต่คำวันทาสีมา-บรรพชา-อุปสมบท จนถึงคำำกรวดน้ำแบบสั้น ท่องเฉพาะบทที่พิมพ์เป็นอักษรเข้ม ส่วนอักษรเล็กธรรมดาที่เป็นคำอธิบายถึงพิธีการไม่ต้องท่องจำ อ่านให้เข้าใจเท่านั้น

พิธีขอบรรพชาอุปสมบท

          อุปสัมปทาเปกข์พึงโกนผม หนวด เครา ทิ้ง ตัดเล็บมือ เท้า นุ่งห่มให้เรียบร้อย กระทำประทักษิณคือเดินเวียนขวารอบพระอุโบสถ ๓ รอบ มือประนมถือดอกไม้ธูปเทียน พึงระลึกถึงพระพุทธคุณ ในรอบที่ ๑ พระธรรมคุณ ในรอบที่ ๒ พระสังฆคุณ ในรอบที่ ๓ ต้องเดินด้วยตนเอง ไม่ขึ้นคานหาม ไม่ขี่คอ ไม่ขี่ช้างขี่ม้า เพื่อแสดงความเคารพต่อพระปฏิมา คือพระประธานในพระอุโบสถ ซึ่งเปรียบประดุจพระพุทธเจ้าประทับอยู่ในพระอุโบสถนั้น เมื่อกระทำประทักษิณครบ ๓ รอบแล้ว จุดธูปเทียนที่สีมาหน้าอุโบสถ กราบ ๓ ครั้ง แล้วยืนขึ้นกล่าวคำวันทาสีมา ดังนี้
๑.วันทาสีมา – วันทาพระประทาน
         
          อุกาสะ  วันทามิ  ภันเต,  สัพพัง  อะปะราธัง  ขะมะถะ  เม  ภันเต,  มะยา กะตัง  ปุญญัง  สามินา  อะนุโมทิตัพพัง,  สามินา  กะตัง  ปุญญัง  มัยหัง  ทาตัพพัง,  สาธุ  สาธุ  อะนุโมทามิ,
          (นั่งลงว่า) สัพพัง  อะปะราธัง  ขะมะถะเม  ภันเต, (กราบ ๑ ครั้ง แล้วว่า) อุกาสะ  ทะวารัตตะเยนะ  กะตัง,  สัพพัง  อะปะราธัง  ขะมะถะ  เม  ภันเต, (กราบ ๑ ครั้ง แล้วยืนขึ้นว่า)  วันทามิ  ภันเต,  สัพพัง  อะปะราธัง  ขะมะถะ  เม  ภันเต,  มะยา  กะตัง  ปุญญัง  สามินา  กะตัง  ปุญญัง  มัยหัง  ทาตัพพัง,  สาธุ  สาธุ  อะนุโมทามิ  (นั่งลง กราบ ๓ ครั้ง)
          บิดามารดาหรือญาติผู้ใหญ่จูงมืออุปสัมปทาเปกข์เข้าภายในพระอุโบสถ  อุปสัมปทาเปกข์พึงทำความเคารพพระประธาน ด้วยการวันทาพระอย่างเดียวกับวันทาสีมา ฉะนั้น
          เสร็จแล้วมานั่งที่ท้ายอาสนะพระสงฆ์ ที่พื้นพระอุโบสถ เพื่อรับผ้าไตรจากบิดามารดาหรือญาติผู้ใหญ่หรือท่านผู้มีจิตศรัทธาผู้จัดการบรรพชาอุปสมบทให้ กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง ยื่นแขนรับผ้าไตรพร้อมกับมือที่ประนมเรียบร้อย  แล้วขึ้นอาสนะสงฆ์เดินเข่าเข้าหาพระอุปัชฌาย์ ถวายผ้าไตรแด่พระอุปัชฌาย์ แล้วเอี้ยวตัวไปทางขวามือ รับเครื่องสักการะถวายแด่พระอุปัชฌาย์ แล้วกราบ ๓ ครั้ง พระอุปัชฌาย์ยกผ้าไตรขึ้นใส่แขนแล้วยืนด้วยความเคารพ ให้เท้าทั้งสองชิดกัน ก้มตัวเล็กน้อย เปล่งวาจาขอบบรรพชา ดังนี้
๒.คำขอบรรพชา
          อุกาสะ  วันทามิ  ภันเต,  สัพพัง  อะปะราธัง  ขะมะถะ  เม  ภันเต,  มะยา  กะตัง  ปุญญัง  สามินา  อะนุโมทิตัพพัง,  สามินา  กะตัง  ปุญญัง  มัยหัง  ทาตัพพัง,  สาธุ  สาธุ  อะนุโมทามิ, อุกาสะ  การุญญัง  กัตวา  (อ่านว่า กัต-ตะ-วา)  ปัพพัชชัง  เทถะ  เม  ภันเต, (นั่งคุกเขาประนมมือว่า)
อะหัง  ภันเต,  ปัพพัชชัง  ยาจามิ,
ทุติยัมปิ  อะหัง  ภันเต,  ปัพพัชชัง  ยาจามิ,
ตะติยัมปิ  อะหัง  ภันเต,  ปัพพัชชัง  ยาจามิ,
(สัพพะทุกขะ  นิสสะระณะ  นิพพานะ
สัจฉิกะระณัตถายะ  อิมัง  กาสาวัง  คะเหตวา  (อ่านว่า คะ-เหต-ตะ-วา)
ปัพพาเชถะ  มัง  ภันเต,  อนุกัมปัง  อุปาทายะ)
ว่า ๓ ครั้ง พระอุปัชฌาย์รับผ้าไตร แล้วพึงว่าต่อไป
(สัพพะทุกขะ  นิสสะระณะ  นิพพานะ
สัจฉิกะระณัตถายะ  เอตัง  กาสาวัง  ทัตวา (อ่านว่า ทัต-ตะ-วา)
ปัพพาเชถะ  มัง  ภันเต,  อนุกัมปัง  อุปาทายะ)
ว่า ๓ ครั้ง จบแล้วกราบ ๓ ครั้ง
          นั่งพับเพียบประนมมือ ตั้งใจฟังโอวาท ซึ่งพระอุปัชฌาย์จะสอนให้รู้จักคุณของพระรัตนตรัย  ให้รู้ถึงความมุ่งหมายแห่งการบรรพชาอุปสมบท และสอนให้เรียนตจปัญจกกัมมัฏฐาน ไว้เป็นอุบายสำหรับสงบระงับจิตใจ ทั้งโดยอนุโลม ทั้งโดยปฏิโลม พึงว่าตาม
เกสา,  โลมา,  นะขา,  ทันตา,  ตะโจ,
ตะโจ,  ทันตา,  นะขา,  โลมา,  เกสา,
          ครั้นแล้วพระอุปัชฌาย์พึงสวมอังสะให้อุปสัมปทาเปกข์ มอบผ้ากาสาวะให้ออกไปครอง แล้วเข้ามาหาพระอาจารย์ซึ่งนั่งคอยอยู่ท้ายพระสงฆ์ ถวายเครื่องสักการะกราบ ๓ ครั้ง ยืนประนมมือเปล่งวาจา ดังนี้
๓.คำขอสรณะและศีล
          อุกาสะ  วันทามิ  ภันเต,  สัพพัง  อะปะราธัง  ขะมะถะ  เม  ภันเต,  มะยา  กะตัง  ปุญญัง  สามินา  อะนุโมทิตัพพัง,  สามินา  กะตัง  ปุญญัง  มัยหัง  ทาตัพพัง,  สาธุ  สาธุ  อะนุโมทามิ,  อุกาสะ  การุญญัง  กัตวา (อ่านว่า กัต-ตะ-วา)  ติสะระเณนะ  สะหะ  สีลานิ  เทถะ  เม  ภันเต,  (นั่งคุกเข่าประนมมือว่า)
อะหัง  ภันเต  สะระณะสีลัง  ยาจามิ,
ทุติยัมปิ  อะหัง  ภันเต  สะระณะสีลัง  ยาจามิ,
ตะติยัมปิ  อะหัง  ภันเต  สะระณะสีลัง  ยาจามิ,
พระอาจารย์ประนมมือ  กล่าวคำนมัสการให้อุปสัมปทาเปกข์ว่าตามดังนี้
          นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ  (ว่า ๓ ครั้ง)
          พระอาจารย์พึงว่า  เอวัง  วะเทหิ  หรือ  ยะมะหัง  วะทามิ  ตัง  วะเทหิ  พึงรับว่า  อามะ  ภันเต  แล้ว  พระอาจารย์พึงให้สรณคมน์และศีล นาคพึงว่าตามต่อไป
          พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ,  ธัมมัง  สะระณัง  คัจฉามิ,  สังฆัง  สะระณัง  คัจฉามิ,
          ทุติยัมปิ  พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ,  ทุติยัมปิ  ธัมมัง  สะระณัง  คัจฉามิ, ทุติยัมปิ   สังฆัง  สะระณัง  คัจฉามิ,
          ตะติยัมปิ  พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ,  ตะติยัมปิ  ธัมมัง  สะระณัง  คัจฉามิ,  ตะติยัมปิ  สังฆัง  สะระณัง  คัจฉามิ,
         
          พระอาจารย์พึงว่า  ติสะระณะคะมะนัง  นิฏฐิตัง  พึงรับว่า  อามะ  ภันเต  แล้วพึงให้ศีล  ๑๐ ต่อไป
๑.ปาณาติปาตา  เวระมะณี,  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
๒.อะทินนาทานา  เวระมะณี,   สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
๓.อะพรัหมะจะริยา  เวระมะณี,  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
๔.มุสาวาทา  เวระมะณี,  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
๕.สุรา  เมระยะ  มัชชะ  ปะมาทัฏฐานา  เวระมะณี, สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
๖.วิกาละโภชะนา  เวระมะณี,  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
๗.นัจจะ  คีตะ  วาทิตะ  วิสูกะ  ทัสสะนา  เวระมะณี, สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
๘.มาลา  คันธะ  วิเลปะนะ  ธาระณะ  มัณฑะนะ (อ่านว่า มัณ-ดะ-นะ)
วิภูสะนัฏฐานา  เวระมะณี,  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
๙.อุจจาสะยะนะ  มะหาสะยะนา  เวระมะณี, สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
๑๐.ชาตะ  รูปะ  ระชะตะ  ปฏิคคะหะณา  เวระมะณี, สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
(อิมานิ  ทะสะ  สิกขาปะทานิ  สะมาทิยามิ)
         
ว่า ๓ ครั้ง กราบ ๓ ครั้ง แล้วยืนประนมมือ เปล่งวาจาต่อไปว่า
         
          วันทามิ  ภันเต,  สัพพัง  อะปะราธัง  ขะมะถะ  เม  ภันเต,  มะยา  กะตัง  ปุญญัง  สามินา  อะนุโมทิตัพพัง,  สามินา  กะตัง  ปุญญัง  มัยหัง  ทาตัพพัง,  สาธุ  สาธุ  อะนุโมทามิ,

(นั่งคุกเขากราบ ๓ ครั้ง)

          ต่อจากนี้ รับบาตร แล้วเข้าหาพระอุปัชฌาย์วางบาตรไว้ด้านซ้ายมือ พึงเอาดอกไม้ธูปเทียนซึ่งวางอยู่บนฝาบาตร ถวายพระอุปัชฌาย์ กราบ ๓ ครั้ง ยืนประนมมือขึ้น กล่าวคำขอนิสัย ดังนี้
๔.คำขอนิสัย
          อุกาสะ  วันทามิ  ภันเต,  สัพพัง  อะปะราธัง  ขะมะถะ  เม  ภันเต,  มะยา  กะตัง  ปุญญัง  สามินา  อะนุโมทิตัพพัง,  สามินา  กะตัง  ปุญญัง  มัยหัง  ทาตัพพัง,  สามินา  กะตัง  ปุญญัง  มัยหัง  ทาตัพพัง,  สาธุ  สาธุ  อะนุโมทามิ,  อุกาสะ  การุญญัง  กัตวา (อ่านว่า กัต-ตะ-วา)  นิสสะยัง  เทถะ  เม  ภันเต,  (นั่งคุกเข่าประนมมือว่า)
อะหัง  ภันเต,  นิสสะยัง  ยาจามิ
ทุติยัมปิ  อะหัง  ภันเต,  นิสสะยัง  ยาจามิ
ตะติยัมปิ  อะหัง  ภันเต,  นิสสะยัง  ยาจามิ
อุปัชฌาโย  เม  ภันเต  โหหิ,  อุปัชฌาโย  เม  ภันเต  โหหิ,
อุปัชฌาโย  เม  ภันเต  โหหิ.
..
พระอุปัชฌาย์กล่าว
อุปสัมปทาเปกข์ (นาค) พึงรับ
ปะฏิรูปัง
อุกาสะ  สัมปะฏิจฉามิ
โอปายิกัง
สัมปะฏิจฉามิ
ปาสาทิเกนะ  สัมปาเทหิ
สัมปะฏิจฉามิ
          อุปสัมปทาเปกข์พึงกล่าวต่อไปว่า  อัชชะตัคเคทานิ  เถโร,  มัยหัง  ภาโร,  อะหัมปิ  เถรัสสะ  ภาโร  ว่า ๓ ครั้ง จบแล้วกราบ ๓ ครั้ง  ยืนประนมมือเปล่งวาจาว่า
          วันทามิ  ภันเต,  สัพพัง  อะปะราธัง  ขะมะถะ  เม  ภันเต,  มะยา  กะตัง  ปุญญัง  สามินา  อะนุโมทิตัพพัง,  สามินา  กะตัง  ปุญญัง  มัยหัง  ทาตัพพัง,  สาธุ  สาธุ  อะนุโมทามิ,
(นั่งคุกเข่ากราบ ๓ ครั้ง)
          ต่อจากนี้  พระอุปัชฌาย์พึงตั้งชื่อให้อุปสัมปทาเปกข์ และบอกชื่อพระอุปัชฌาย์  พึงรับว่า  อามะ  ภันเต  แล้วบอกบริขารต่อไป  พึงรับว่า  อามะ  ภันเต  ทุกครั้ง
คำบอก
คำรับ
อะยันเต  ปัตโต
อามะ  ภันเต
อะยัง  สังฆาฏิ
อามะ  ภันเต
อะยัง  อุตตะราสังโค
อามะ  ภันเต
อะยัง  อันตะระวาสะโก
อามะ  ภันเต
          เสร็จแล้วพึงเอาบาตรคล้องตัวอุปสัมปทาเปกข์  และพึงบอกให้ออกไปข้างนอก ด้วยคำว่า  คัจฉะ อะมุมหิ โอกาเส ติฏฐาหิ
          อุปสัมปทาเปกข์พึงถอยหลังออก  พอพ้นเขตพระสงฆ์ แล้วหันหน้าลุกเดินประนมมือไปยืนที่ผนังพระอุโบสถ  อย่าเหยีบพรมเล็กที่ปูไว้ ยืนหันหน้าเข้าหาพระประธาน ครั้นแล้วพระกรรมวาจาจารย์ และพระอนุสาวนาจารย์ จะสวดสมมติตนแล้วออกไปถามอันตรายิกธรรม  เมื่อท่านถามพึงตอบ
พระอุปัชฌาย์ถาม
นาคตอบ

กุฏฐัง
นัตถิ  ภันเต
คัณโฑ
นัตถิ  ภันเต
กิลาโส
นัตถิ  ภันเต
โสโส
นัตถิ  ภันเต
อะปะมาโร
นัตถิ  ภันเต
มนุสโสสิ
อามะ  ภันเต
ปุริโสสิ
อามะ  ภันเต
ภุชิสโสสิ
อามะ  ภันเต
อะนะโณสิ
อามะ  ภันเต
นะสิ  ระชะภะโฏ
อามะ  ภันเต
อะนุญญาโตสิ  มาตาปิตูหิ
อามะ  ภันเต
ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ
อามะ  ภันเต
ปะริปุณณัเต ปัตตะจีวะรัง
อามะ  ภันเต
กินนาโมสิ
อะหัง  ภันเต.............นามะ  (ตรงช่องว่าง คือชื่อฉายาของนาค)
โก  นามะ  เต  อุปัชฌาโย
อุปัชฌาโย  เม  ภันเต,
อายัสสะมา...............นามะ (ตรงช่องว่าง คือชื่อฉายาของพระอุปัชฌาย์)
          พระอาจารย์ทั้ง ๒ จะกลับเข้าสู่ท่ามกลางพระสงฆ์  สวดเรียกอุปสัมปทาเปกข์เข้าไปในท่ามกลางพระสงฆ์  เมื่อท่านสวดจบแล้ว พึงเดินประนมมือเข้าไปนั่งระหว่างพระสงฆ์คู่สุดท้าย กราบ ๓ ครั้ง แล้วเปล่งวาจาขออุปสมบทว่า
๕.คำขออุปสมบท
          สังฆัมภันเต  อุปะสัมปะทัง  ยาจามิ,  อุลลุมปะตุมัง  ภันเต  สังโฆ,  อะนุกัมปัง  อุปาทายะ,
          ทุติยัมปิ  ภันเต  สังฆัง  อุปะสัมปะทัง  ยาจามิ,  อุลลุมปะตุมัง  ภันเต  สังโฆ,  อะนุกัมปัง  อุปาทายะ,
          ตะติยัมปิ  ภันเต  สังฆัง  อุปะสัมปะทัง  ยาจามิ,  อุลลุมปะตุมัง  ภันเต  สังโฆ,  อะนุกัมปัง  อุปาทายะ,
          จบแล้วกราบ ๓ ครั้ง  เดินเข่าเข้าไปให้ใกล้พระอุปัชฌาย์ นั่งคุกเข่าประนมมือ พระอาจารย์ทั้ง ๒ จะสมมติตนถามอันตรายิกธรรม พึงถามพึงตอบโดยนัยก่อน  ท่านทั้งสองจะได้สวดญัตติจตุตถกรรมวาจาไปจนจบ
          เมื่อจบแล้วเอาบาตรออกวางไว้ด้านซ้ายมือ กราบ ๓ ครั้ง นั่งพับเพียบประนมมือฟังอนุศาสน์ เมื่อท่านสวดอนุศาสน์จบให้รับว่า  อามะ  ภันเต  แล้วนั่งคุกเข่า  กราบ ๓ ครั้ง  แล้วหันตัวไปทางขวามือ รับสักการะถวายพระอนุสาวนาจารย์ แล้วกราบ ๓ ครั้ง นั่งพับเพียบตรงพระอุปัชฌาย์ เตรียมกรวดน้ำ
          เมื่อท่านขึ้น ยะถา...... ให้เริ่มเทน้ำอุทิศส่วนกุศล เมื่อ  ยะถา  จบ รับ สัพพี  เทน้ำให้หมด  แล้วประนมมือฟัง เมื่อพระสงฆ์อนุโมทนาจบ นั่งคุกเข่ากราบ ๓ ครั้ง และพึงกราบพระประธานอีก ๓ ครั้ง พร้อมกับพระสงฆ์ทั้งหลาย  แล้วอุ้มบาตรออกไปนั่งท้ายอาสนะสงฆ์ เพื่อรับประเคนจตุปัจจัยไทยทานจากญาติโยมต่อไป เป็นเสร็จพิธีบรรพชาอุปสมบท
จบพิธีบรรพชาอุปสมบท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น