บทสวดมนต์ก่อนนอน บทแผ่เมตตา

อาราธนาศีล 8

อาราธนาศีล 8


มะยัง ภันเต ติสะระเณนะสะหะ อัฏฐะ สีลานิยาจามะ
(ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอศีล 8 พร้อมกับสรณะ 3)
ทุติยัมปิ มะยังภันเต ติสะระเณนะสะหะ อัฏฐะ สีลานิยาจามะ
(ท่านผู้เจริญ แม้นในวาระที่ 2 ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอศีล 8 พร้อมกับสรณะ 3)
ตะติยัมปิ มะยังภันเต ติสะระเณนะสะหะ อัฏฐะ สีลานิยาจามะ
(ท่านผู้เจริญ แม้นในวาระที่ 3 ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอศีล 8 พร้อมกับสรณะ 3)
(ถ้าคนเดียวเปลี่ยนจากคำว่า "มะยัง" เป็น "อะหัง" และ "ยาจามะ" เป็น "ยาจามิ")

สมาทานศีล 8

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ (ว่า ๓ จบ)
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ปาณาติปาตา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อทินนาทานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สุรา เมระยะ มัชชะ ปะมาทัฏฐานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
วิกาละโภชนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(ข้าพเจ้าขอยึดถือเอาสิกขาบท คือตั้งใจงดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลากาล )
นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะ- มัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(ข้าพเจ้าขอยึดถือเอาสิกขาบท คือตั้งใจงดเว้นจากการฟ้อนรำ จากการขับร้อง จากการประโคม ดนตรี จากการดูการเล่นชนิดที่เป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ และงดเว้นจากการทัดทรงสวมใส่ประดับตกแต่ง ด้วยพวงดอกไม้มาลา ของหอม เครื่องย้อมเครื่องทาผิวทั้งหลาย)
อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(ข้าพเจ้าขอยึดถือเอาสิกขาบท คือตั้งใจงดเว้นจากการนั่งและนอนบนที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ ซึ่งภายในยัดด้วยนุ่นหรือสำลี)
อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ
สีเลนะ สุคะติง ยันติ
สีเลนะ โภคะสัมปะทา
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ
ตัสมา สีลัง วิโสธะเย ฯ
(จากหนังสือสวดมนต์แปล วัดท่าซุง หน้า ๒๘๐-๒๘๓)
บทสวดมนต์ก่อนนอน บทแผ่เมตตา

อาราธนาศีล 5

อาราธนาศีล 5


มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ, ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ, ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ, ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
(ถ้าท่องบทสวดเพียงคนเดียว ให้ขึ้นต้นว่า "อะหัง ภันเต" และลงท้ายว่า "ยาจามิ")
(ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอศีล ๕ ข้อพร้อมทั้งพระรัตนตรัยเพื่อประโยชน์แก่การจะรักษาต่างๆกัน)

จากนั้นประธานสงฆ์ จะนำกล่าว นมัสการพระรัตนตรัย(นะโมตัสสะฯ)ก่อน 3 จบ จึงว่าตาม 3จบ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (นะโม 3 จบ)
จากนั้น ประธานสงฆ์ จะกล่าวนำเข้าถึงไตรสรณคมน์ ให้ว่าตามทีละวรรค ดังนี้

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

(บางครั้ง,บางวัด) ประธานสงฆ์จะกล่าวว่า "สะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง” (บัดนี้ได้เข้าถึงซึ่งพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งแล้ว) ให้รับว่า “อามะ ภันเต” (ครับ/เจ้าค่ะ)
จากนั้นประธานสงฆ์ จะนำกล่าวสมาทานศีลทีละข้อ พึงกล่าวตามทีละข้อดังนี้

ปาณาติปาตา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อทินนาทานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สุรา เมระยะ มัชชะ ปะมาทัฏฐานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อิมานิ ปัญจะ สิกขาปทานิ
สีเลนะ สุคติง ยันติ (ศีล นั้นจักเป็นเหตุให้ถึงความสุข)
สีเลนะ โภคะสัมปะทา (ศีล นั้นจักเป็นเหตุให้ได้มาซึ่ง โภคทรัพย์)
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ (และศีลนั้นยัง จะเป็นเหตุให้ได้ไปถึง นิพพาน คือความดับเย็นจากกิเลส เครื่องเศร้าหมอง ทั้งปวง)
ตัสสมา สีลัง วิโสธะเย (ศีล จึงเป็นสิ่งที่วิเศษนักที่เธอทั้งหลายพึงยึดถือเป็นหลัก ประจำชีวิต ประจำจิตใจ ปฏิบัติ ให้ได้ ดังนี้ แล)
บทสวดมนต์ก่อนนอน บทแผ่เมตตา

การแห่นาค


     
การแห่นาค ณ วัดบึงทองหลาง 8 พฤศจิกายน 2558
 
    ชีวิตขั้นที่สอง รองจากเกิดก็คือ การบวช ผู้ชายทุกคนเมื่ออายุครบแล้วจะต้องบวช การบวชถือว่าเป็นการอบรมบ่มนิสัยให้ดีมีศีลธรรม และเป็นการตอบแทนบุญคุณของบิดามารดาผู้ให้กำเนิด ดังนั้นการบวชจึงถือว่า เป็นประเพณีที่จำเป็นสำหรับลูกผู้ชายทุกคน
 การบวช
        คำว่า บวช มาจากศัพท์ว่า ปะวะชะ แปลว่า งดเว้น ได้แก่ งดเว้นในสิ่งที่ควรงดเว้น คือ เว้นจากกิจบ้านการเรือนมาบำเพ็ญเพียรทำกิจพระศาสนา มีสวดมนต์ ภาวนา เป็นต้น การบวชนั้น ถ้าเป็น สามเณร เรียก บรรพชา ถ้าเป็น พระภิกษุ เรียก อุปสมบท มี 3 อย่าง คือ
    - พระพุทธเจ้าบวชให้ด้วยเปล่งวาจาว่า มาเถิดพระภิกษุ ธรรมเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อพ้นทุกข์โดยชอบเถิด เรียก เอหิภิกขุอุปสัมปทา
    - พระสาวกบวชให้ ด้วยเปล่งวาจาว่า พุทธัง สรณังคัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ เรียก ติสรณคมนูปสัมปทา
    - พระสงฆ์ 5 รูป รวมทั้งพระอุปัชฌาย์บวชให้ด้วยการสวดญัตติ 1 ครั้ง อนุสาวนา 3 ครั้ง รวมเป็น 4 ครั้ง เรียก ญัตติจตุตถกรรมวาจา  การบวชข้อที่ 3 นี้ เป็นการบวชที่ทำอยู่ในปัจจุบัน

นาคคืออะไร?

            คำว่า นาค คนที่จะบวชเขาเรียกว่า นาค แปลว่า ผู้ประเสริฐ หรือ ผู้ไม่ทำบาป เหตุที่ได้ชื่อว่า นาค เรื่องเดิมมีอยู่ว่า พญานาคแปลงตัวเป็นมนุษย์มาบวช ในพระพุทธศาสนาเวลานอนหลับกลับเพศเป็นนาคตามเดิม วันหนึ่งพวกภิกษุไปกราบทูลพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสเรียกเธอมาถาม ได้ความว่าเป็นเรื่องจริง จึงสั่งให้สึกเสียพญานาคมีความอาลัยในเพศบวช จึงกราบทูลขอฝากชื่อนาคไว้ ถ้าผู้ใดจะเข้ามาบวชขอให้ เรียกชื่อว่า นาค คำว่านาค จึงเป็นชื่อเรียกผู้ที่จะบวชจนถึงทุกวันนี้


การประเคนนาค

            เมื่อบุตรหลานมีอายุครบพอที่จะบวชเป็นพระหรือเณรได้แล้ว พ่อแม่จะนำไปฝากไว้กับเจ้าวัดก่อนบวช ประมาณหนึ่งเดือน เพื่อให้ศึกษาเล่าเรียน ทำวัตรสวดมนต์ ท่องบ่นขานนาค ทำพินธุ ปัจจุอธิษฐาน เรียนหนังสือธรรม การนำลูกหลานไปฝากไว้กับเจ้าวัด เขาจัดดอกไม้ ธูปเทียนใส่ขันนำตัวนาคไป เมื่อท่านรับขันแล้วก็ตีโปง หรือ ระฆัง ให้ชาวบ้านได้อนุโมทนาสาธุการนี้ เรียกว่า การประเคนนาค


การปล่อยนาค

            อีก 2-3 วัน จะถึงวันบวชนาคจะนำดอกไม้ธูปเทียนไปลาญาติพี่น้อง เพื่อสมมาลาโทษผู้หลักผู้ใหญ่ที่ตนเคารพนับถือ และไปสั่งลาชู้สาว ถ้ามี หากมีหนี้สินติดตัวก็รีบชำระชดใช้เสีย เพื่อจะได้เป็นคนบริสุทธิ์ การปล่อยนาคให้ไปไหนมาไหนก็ได้มีกำหนด 3 วัน เรียกว่า ปล่อยนาค ทั้งนี้เพื่อให้นาคได้มีโอกาสเวลาบวชแล้วจะได้ตั้งหน้าบำเพ็ญกุศลต่อไป


กองบวช

            เครื่องใช้ที่จะนำมาบวชเรียกกองบวช ที่จำเป็นจะขาดเสียไม่ได้คือ บริขาร 8 มีผ้านุ่ง ผ้าห่ม ผ้าสังฆาฏิ บาตร มีดโกน เข็ม ประคตเอว ผ้ากรองน้ำ บริขารนอกนี้ มีเสื่อ สาด อาสนะ ร่ม รองเท้า เต้า โถน เตียง ตั่ง จะมีหรือไม่มีก็ได้ไม่จำเป็น ถ้าทำพร้อมกันหลายกองให้ขนมารวมกันไว้ที่วัด ตอนค่ำสวดมนต์ เสร็จแล้วบังสุกุลอุทิศส่วนกุศลแด่ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว กลางคืน มีมหรสพ ตอนเช้าถวายอาหารบิณฑบาต ถ้าทำบ้านใครบ้านมัน ตอนค่ำนิมนต์พระไปสวดมนต์ที่บ้าน กองบวชใช้เม็ง คือ เตียงหามออกมา เตียงนั้นใช้เป็นเตียงนอนของพระบวชใหม่ เมื่อกองบวชมารวมกันแล้ว ก่อนจะสู่ขวัญนาค

สู่ขวัญนาค ต้องบังสุกุลอุทิศส่วนกุศลแด่ผู้ตายแล้วด้วย



การแห่นาค

            การแห่นาคทำตามศรัทธาของเจ้าภาพจะแห่ด้วยช้าง ม้า รถ เรือก็ได้ ที่แห่ด้วยม้าคงจะถือเอาอย่างพระสิทธัตถะคราวออกบวช เป็นตัวอย่าง นาคทุกคนต้อง โกนผม โกนคิ้ว นุ่งเสื้อผ้าให้เรียบร้อย ถ้าตั้งกองบวชไว้ที่บ้าน ให้แห่กองบวชมารวมกันที่วัดเมื่อพร้อมกันแล้วก็แห่รอบศาลาอีกครั้งหนึ่ง การสู่ขวัญนาค เมื่อแห่รอบศาลาแล้วนาคทุกคนเตรียมเข้าพาขวัญ ญาติพี่น้องนั่งห้อมล้อมพาขวัญพราหมณ์เริ่มทำพิธีสู่ขวัญ เสร็จแล้วผูกแขนนาคนำเข้าพิธีบวชต่อไป

การบวชนาค

            เวลาจะเข้าโบสถ์ พ่อจูงมือซ้าย แม่จูงมือขวา ถ้าพ่อแม่ไม่มีให้ญาติพี่น้องเป็นผู้จูงถึงภายในโบสถ์แล้วนาคจะนำดอกไม้ธูปเทียนไปบูชาพระ เสร็จกลับมานั่งที่ พ่อแม่จะยกผ้าไตรส่งให้นาค ก่อนจะรับผ้าไตรนาคต้องกราบพ่อแม่ก่อน แล้วอุ้มผ้าไตรเดินคุกเข่าประนมมือเข้าไปท่ามกลางสงฆ์
            กล่าวคำขอบรรพชาต่อ พระอุปัชฌาชย์ แล้วออกมาครองผ้า แล้วเข้าไปขอศีลกับพระอาจารย์เป็นอันได้บวชเป็นสามเณรแล้ว ต่อจากนั้นอุ้มบาตรเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์กล่าวคำขอนิสัย เมื่อท่านเอาบาตรคล้องคอแล้วมอบบาตรจีวรให้ ให้ออกไปยืนข้างนอก ตอนนี้พระอาจารย์คู่สวดจะสมมุติตนเป็นผู้สอนและซักซ้อมนาคแล้วออกไปซักถามนาค พอถามแล้วก็เรียกนาคเข้ามาถามต่อหน้าสงฆ์ พระอุปัชฌาย์ทำหน้าที่บอกเล่าสงฆ์ แล้วอาจารย์สวดเป็นผู้ถามพอถามเสร็จก็สวดญัติ 1 ครั้ง และอนุสาวนา 3 ครั้ง เรียก ญัตติจตุตถกรรมวาจา เป็นอันว่านาคนั้นได้บวชเป็นพระภิกษุโดยสมบูรณ์แล้ว

การบอกอนุศาสน์  

            เมื่อบวชแล้ว พระอุปัชฌาย์จะบอกอนุศาสน์ คือ บอกกิจที่พระควรทำและไม่ควรทำ
กิจที่ควรทำมี 4 อย่างคือ นุ่งห่มผ้าบังสุกุล เที่ยวบิณฑบาต อยู่โคนไม้ ฉันยาดองด้วยน้ำมูตร
กิจที่ไม่ควรทำมี 4 อย่างคือ เสพเมถุน ลักของลักขโมย ฆ่าสัตว์ พูดอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน

การกรวดน้ำ

            พอพระอุปัชฌาย์บอกอนุศาสน์จบแล้วถือว่าเสร็จการบรรพชาอุปสมบทแล้ว ต่อจากนั้นพระใหม่จะนำจตุปัจจัยไปถวายพระอุปัชฌาย์อาจารย์ และพระสงฆ์ เสร็จแล้วออกไปนั่งท้ายอาสนะ คอยรับอัฏฐะบริขาร ถ้าผู้ชายถวายให้รับด้วยมือ ถ้าผู้หญิงถวายให้ใช้ผ้ากราบรับเสร็จแล้วเข้ามานั่งที่เดิม เตรียมกรวดน้ำไว้ เมื่อพระอุปัชฌาย์ว่า "ยะถา..... " พระใหม่เริ่มกรวดน้ำพอท่านว่าถึง "............ มณีโชติรโส ยถา........ " ให้กรวดน้ำให้หมด การกรวดน้ำในพิธีนี้ถือว่าเป็นการแผ่ส่วนกุศลแด่ญาติที่ล่วงลับไปแล้วเป็นอันเสร็จพิธีเกี่ยวกับบวชแต่เท่านี้ เมื่อครบ 3 วันแล้ว จะมีการฉลองพระบวชใหม่ การฉลองก็คือจัดอาหารคาวหวาน มาเลี้ยงพระ และสู่ขวัญให้พระบวชใหม่


การลาสิกขา 

         ผู้บวชในสมัยโบราณเป็นผู้เบื่อต่อโลก จึงไม่มีการลาสิกขา ครั้นต่อมาการบวชได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นประเพณีแล้ว  ผู้บวชไม่ประสงค์จะอยู่ก็ต้องลาสิกขา การลาสิกขาก็ต้องทำเป็นกิจจะลักษณะพิธีทำ มีดังนี้
         ผู้ประสงค์จะลาสิกขาเตรียมดอกไม้ ธูปเทียนไปทำวัตร พระอุปัชฌาย์อาจารย์เมื่อถึงวันกำหนดแล้วให้จัดสถานที่ นิมนต์พระสงฆ์มาพร้อมกันแล้ว พระภิกษุผู้จะลาสิกขาต้องแสดงอาบัติเสียก่อนแล้วว่า "นโม 3 จบ" ว่าอดีต "ปัจจเวกขณะ 1 จบ"
คำลาสิกขาว่า " สิกขัง ปัจจักขามิ คีหิติ มัง ธาเรถะ ข้าพเจ้าขอลาสิกขา ขอท่านทั้งหลายจงจดจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นคฤหัสถ์ ณ บัดนี้" ว่า 3 จบ แล้วพระเถระจะชักผ้าสังฆาฏิออก จึงออกไปเปลื้องผ้าเหลือง ออกแล้วจึงนุ่งห่มผ้าขาวเข้ามากล่าว คำขอสรณคมณ์และศีล 5 แล้วกล่าวคำ ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามะกะว่า "อหัง พุทธัญจะ ธัมมัญจะ สังฆัญจะ สรณังคโต สาธุ ภันเต ภิกขุสังโฆ พุทธมามโกติ มัง ธาเรถะ" พระสงฆ์นั่งอันดับรับสาธุพร้อมกัน แล้วผู้ลาสิกขากราบ 3 หน เสร็จแล้วผู้ลาสิกขานำเครื่องสักการะไปถวาย พระสงฆ์อนุโมทนาเป็นเสร็จพิธี ส่วนการลาสิกขาของสามเณร ไม่มีคงอนุโลมตามอย่างพระภิกษุ

ขอขอบคุณข้อมูลมีประโยชน์จาก http://www.lib.ubu.ac.th/

บทสวดมนต์ก่อนนอน บทแผ่เมตตา

วันพระ 2559

ปฏิทินวันพระ 2559 (ปีมะแม - ปีวอก)

คริสตศักราช 2016 , มหาศักราช 1937 - 1938 2 , รัตนโกสินทร์ศก 234 - 235 2
สัปตศก จุลศักราช 1377 ถึง อัฐศก จุลศักราช 1378 2 , อธิกสุรทิน ปกติมาส อธิกวาร

ปฏิทินวันพระ เดือนมกราคม 2559
วันเสาร์ที่ 2 มกราคม 2559 แรม ๘ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีมะแม
วันศุกร์ที่ 8 มกราคม 2559  แรม ๑๔ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีมะแม
วันเสาร์ที่ 16 มกราคม 2559 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนยี่(๒) ปีมะแม
วันเสาร์ที่ 23 มกราคม 2559 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนยี่(๒) ปีมะแม
วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม 2559 แรม ๘ ค่ำ เดือนยี่(๒) ปีมะแม

ปฏิทินวันพระ กุมภาพันธ์ 2559
วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559 แรม ๑๕ ค่ำ เดือนยี่(๒) ปีมะแม
วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีมะแม
วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2559 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีมะแม วันมาฆบูชา

ปฏิทินวันพระ มีนาคม 2559
วันอังคารที่ 1 มีนาคม 2559 แรม ๘ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีมะแม
วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม 2559 แรม ๑๔ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีมะแม
วันอังคารที่ 15 มีนาคม 2559 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีมะแม
วันอังคารที่ 22 มีนาคม 2559 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีมะแม
วันพุธที่ 30 มีนาคม 2559 แรม ๘ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีมะแม

ปฏิทินวันพระ เมษายน 2559
วันพุธที่ 6 เมษายน 2559 แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีมะแม วันจักรี
วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน 2559 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีวอก วันสงกรานต์
วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน 2559 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีวอก
วันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2559 แรม ๘ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีวอก

ปฏิทินวันพระ พฤษภาคม 2559 วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม 2559
แรม ๑๔ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีวอก วันฉัตรมงคล
วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม 2559 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีวอก
วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม 2559 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีวอก วันวิสาขบูชา
วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม 2559 แรม ๘ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีวอก วันอัฏฐมีบูชา

ปฏิทินวันพระ มิถุนายน 2559
วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน 2559 แรม ๑๕ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีวอก
วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน 2559 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนเจ็ด(๗) ปีวอก
วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน 2559 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนเจ็ด(๗) ปีวอก
วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน 2559 แรม ๘ ค่ำ เดือนเจ็ด(๗) ปีวอก

ปฏิทินวันพระ กรกฎาคม 2559
วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม 2559 แรม ๑๕ ค่ำ เดือนเจ็ด(๗) ปีวอก
วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม 2559 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนแปด(๘) ปีวอก
วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม 2559 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนแปด(๘) ปีวอก วันอาสาฬหบูชา
วันพุธที่ 20 กรกฎาคม 2559 แรม ๑ ค่ำ เดือนแปด(๘) ปีวอก วันเข้าพรรษา
วันพุธที่ 27 กรกฎาคม 2559 แรม ๘ ค่ำ เดือนแปด(๘) ปีวอก

ปฏิทินวันพระ สิงหาคม 2559
วันพุธที่ 3 สิงหาคม 2559 แรม ๑๕ ค่ำ เดือนแปด(๘) ปีวอก
วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม 2559 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนเก้า(๙) ปีวอก
วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม 2559 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนเก้า(๙) ปีวอก
วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม 2559 แรม ๘ ค่ำ เดือนเก้า(๙) ปีวอก

ปฏิทินวันพระ กันยายน 2559
วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน 2559 แรม ๑๔ ค่ำ เดือนเก้า(๙) ปีวอก
วันศุกร์ที่ 9 กันยายน 2559 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีวอก
วันศุกร์ที่ 16 กันยายน 2559 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีวอก
วันเสาร์ที่ 24 กันยายน 2559 แรม ๘ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีวอก

ปฏิทินวันพระ ตุลาคม 2559
วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม 2559 แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีวอก
วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม 2559 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีวอก
วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม 2559 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีวอก วันออกพรรษา
วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม 2559 แรม ๘ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีวอก
วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม 2559 แรม ๑๔ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีวอก

ปฏิทินวันพระ พฤศจิกายน 2559
วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2559 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีวอก
วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2559 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีวอก วันลอยกระทง
วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2559 แรม ๘ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีวอก
วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน 2559 แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีวอก

ปฏิทินวันพระ ธันวาคม 2559
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2559 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีวอก
วันพุธที่ 14 ธันวาคม 2559 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีวอก
วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม 2559 แรม ๘ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีวอก
วันพุธที่ 28 ธันวาคม 2559 แรม ๑๔ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีวอก

วันพระ 2559
วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ หรือ วันอุโบสถ หมายถึง วันประชุมของพุทธศาสนิกชนเพื่อปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาในพระพุทธศาสนาประจำสัปดาห์ หรือที่เรียกกันทั่วไปอีกคำหนึ่งว่า "วันธรรมสวนะ" อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดยวันพระเป็นวันที่มีกำหนดตามปฏิทินจันทรคติ โดยมีเดือนละ 4 วัน ได้แก่ วันขึ้น ๘ ค่ำ, วันขึ้น ๑๕ ค่ำ (วันเพ็ญ), วันแรม ๘ ค่ำ และวันแรม ๑๕ ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม ๑๔ ค่ำ)

วันพระนั้นเดิมเป็นธรรมเนียมของปริพาชกอัญญเดียรถีย์ (นักบวชนอกพระพุทธศาสนา) ที่จะประชุมกันแสดงธรรมทุก ๆ วัน ๘ ค่ำ และ วัน ๑๕ ค่ำ ซึ่งในสมัยต้นพุทธกาล พระพุทธเจ้ายังคงไม่ได้ทรงวางระเบียบในเรื่องนี้ไว้ ต่อมาพระเจ้าพิมพิสารได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และกราบทูลพระราชดำริของพระองค์ว่านักบวชศาสนาอื่นมีวันประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนในศาสนาของเขา แต่ว่าพุทธศาสนายังไม่มี พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้มีการประชุมพระสงฆ์ในวัน ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์ประชุมสนทนาและแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวันดังกล่าว โดยตามพระไตรปิฎกเรียกวันพระว่า วันอุโบสถ (วัน ๘ ค่ำ) หรือวันลงอุโบสถ (วัน ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำ) แล้วแต่กรณี

หลังจากนั้น พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันธรรมสวนะสืบมา โดยจะเป็นวันสำคัญที่พุทธศาสนิกชนจะไปประชุมกันฟังพระธรรมเทศนาจากพระสงฆ์ที่วัด ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่าได้มีประเพณีวันพระมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

วันพระในปัจจุบัน คงเหลือธรรมเนียมปฏิบัติอยู่แต่เฉพาะประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท เช่น ศรีลังกา, พม่า, ไทย, ลาว และเขมร (ในอดีตประเทศเหล่านี้ถือวันพระเป็นวันหยุดราชการ) โดยพุทธศาสนิกชนเถรวาทนับถือว่าวันนี้เป็นวันสำคัญที่จะถือโอกาสไปวัดเพื่อทำบุญถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์และฟังพระธรรมเทศนา สำหรับผู้ที่เคร่งครัดในพระพุทธศาสนาอาจถือศีลแปดหรือศีลอุโบสถในวันพระด้วย นอกจากนี้ชาวพุทธยังถือว่าวันพระไม่ควรทำบาปใด ๆ โดยเชื่อกันว่าการทำบาปหรือไม่ถือศีลห้าในวันพระถือว่าเป็นบาปมากกว่าในวันอื่น

ในประเทศไทย หลังจากวันพระได้ถูกยกเลิกไม่ให้เป็นวันหยุดราชการ ทำให้วันพระที่กำหนดวันตามปฏิทินจันทรคติส่วนใหญ่ไม่สอดคล้องกับปฏิทินที่ใช้กันอยู่ทั่วไป (เช่น วันพระไปตรงกับวันทำงานปกติ) ซึ่งคือหนึ่งในสาเหตุสำคัญในปัจจุบันที่ทำให้พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยห่างจากการเข้าวัดเพื่อทำบุญในวันพระ

นอกจากนี้ ในประเทศไทยยังมีคำเรียกวันก่อนวันพระหนึ่งวันว่า วันโกน เพราะปกติในวันขึ้น ๑๔ ค่ำปกติ ก่อนวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เป็นธรรมเนียมของพระสงฆ์ในประเทศไทยที่จะโกนผมในวันนี้

การเตรียมตัวไปวัดเพื่อทำบุญ

การเตรียมตัวไปวัดเพื่อทำบุญต้องเตรียมความพร้อม องค์ประกอบ 3 ประการคือ

1. การเตรียมกาย
ควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีขาวเรียบ หรือสีที่ ไม่ฉูดฉาด ไม่หลวมไม่คับเกินไป เนื่องจากจะไม่คล่องตัว ไม่ประดับร่างกายด้วยเครื่องประดับ ไม่ใช้เครื่องประทินผิว เช่น น้ำหอม เป็นต้น รับประทานอาหารแต่พอดี ไม่อิ่มจน อึดอัด เพื่อประทังความหิว เนื่องจากหากมีอาการหิว กระหายจะทำให้จิตใจไม่สบายไปด้วย ควรงดเว้นอาหาร ที่อาจจะทำให้เกิดอาการท้องเสีย เป็นต้น

2. การเตรียมใจ
ให้ตัดความวิตกกังวลที่จะเกิดขึ้น เช่น เรื่อง ครอบครัวเรื่องการงานเป็นต้น

3. การเตรียมสิ่งของ
ให้จัดเตรียมดอกไม้ธูปเทียนเพื่อบูชาพระ อาหาร หวานคาว รวมถึงสิ่งของอื่น ๆ (ปัจจัยไทยธรรม) เพื่อไป ถวายพระสงฆ์ตามกำลังและความศรัทธา

ขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรม

การปฏิบัติกิจกรรมในการทำบุญของแต่ละวัด อาจจะแตกต่างกันในรายละเอียด แต่หลักปฏิบัติโดยส่วนใหญ่แล้วทุกวัดจะปฏิบัติเหมือนกันคือ

1. การทำวัตรสวดมนต์ (พระสงฆ์จะทำวัตร สวดมนต์ก่อน เมื่อพระสงฆ์ทำวัตรสวดมนต์จบแล้ว อุบาสกอุบาสิกาจึงทำวัตรสวดมนต์ต่อจากพระสงฆ์ บางวัดอาจจะสวดมนต์แปล แต่บางวัดอาจจะสวดมนต์เป็นล้วน ๆไม่สวดแปลให้ทำตามธรรมเนียมของวัดนั้นๆ)

2. การรับศีล ในวันธรรมดาโดยทั่วไปจะสมาทานศีล 5 ในวันธรรมสวนะ (วันพระ) จะสมาทานอุโบสถศีลหรือศีลอุโบสถมี 8 ข้อ

3. การฟังธรรม

4. การบำเพ็ญจิตภาวนา

5. การถวายสังฆทาน

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก myhora.com
บทสวดมนต์ก่อนนอน บทแผ่เมตตา

แห่นาค งานบวช ลูกชายโหน่ง ชะชะช่า

แห่นาค งานบวช ลูกชายโหน่ง ชะชะช่า

เมื่อลูกชายคนรอง "บุหรี่ ศิวนาถ เอี่ยมสุข" ได้ลาอุปสมบททดแทนคุณพ่อแม่ โดยถือฤกษ์ดีในช่วงเช้าของวันที่21 มิถุนายน 2559 ซึ่งเป็นเดือนเกิดของลูกชายสุดที่รัก ให้ลูกศึกษาธรรมะภายใต้ร่มกาสาวพัสตร์ เพื่อนำพระธรรมคำสอนของสมเด็จพระพุทธเจ้ามาขัดเกลาความคิดและจิตใจให้เป็นคนที่ดียิ่งๆขึ้น  ที่วันนี้เราก็ไม่พลาดที่จะนำบรรยากาศแห่นาค ที่รวมเอาดาราตลกชื่อดังทั่วฟ้าเมืองไทย มาฟ้อนรำหน้านาคกันอย่างสนุกสนาน! มาให้ชมกัน







ขอบคุณภาพจาก: IG nong_chachacha / FB ห้องข่าวบันเทิง ช่อง Workpoint / เท่ง เถิดเทิง แฟนคลับ

บทสวดมนต์ก่อนนอน บทแผ่เมตตา

บทสวดอุกาสะ

บทสวดอุกาสะ

พิธีขอบรรพชาอุปสมบท (แบบอุกาสะ)

คู่มือบรรพชาอุปสมบท : วัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร

วิธีการท่องคำขอบรรพชาอุปสมบท
          นาคที่จะท่องคำบรรพชาอุปสมบทนี้ ข้อแรกต้องอ่านคำที่จะท่องให้ชัดเจนถูกต้องอักขระและเสียงโดยแน่ชัดเสียก่อน และเริ่มท่องจำในภายหลัง ถ้าสงสัยเสียงของอักขระคำใด ต้องสอบถามท่านผู้รู้เสียก่อน มิฉะนั้นจะทำให้ท่องผิดและจำยากยิ่งขึ้น  ข้อสำคัญต้องท่องออกเสียง อย่าท่องในใจ เพราะจะเป็นเหตุให้การกล่าวคำบรรพชาอุปสมบทไม่คล่องปาก ในเวลาบรรพชาอุปสมบท บทที่จะเริ่มตั้งแต่คำวันทาสีมา-บรรพชา-อุปสมบท จนถึงคำำกรวดน้ำแบบสั้น ท่องเฉพาะบทที่พิมพ์เป็นอักษรเข้ม ส่วนอักษรเล็กธรรมดาที่เป็นคำอธิบายถึงพิธีการไม่ต้องท่องจำ อ่านให้เข้าใจเท่านั้น

พิธีขอบรรพชาอุปสมบท

          อุปสัมปทาเปกข์พึงโกนผม หนวด เครา ทิ้ง ตัดเล็บมือ เท้า นุ่งห่มให้เรียบร้อย กระทำประทักษิณคือเดินเวียนขวารอบพระอุโบสถ ๓ รอบ มือประนมถือดอกไม้ธูปเทียน พึงระลึกถึงพระพุทธคุณ ในรอบที่ ๑ พระธรรมคุณ ในรอบที่ ๒ พระสังฆคุณ ในรอบที่ ๓ ต้องเดินด้วยตนเอง ไม่ขึ้นคานหาม ไม่ขี่คอ ไม่ขี่ช้างขี่ม้า เพื่อแสดงความเคารพต่อพระปฏิมา คือพระประธานในพระอุโบสถ ซึ่งเปรียบประดุจพระพุทธเจ้าประทับอยู่ในพระอุโบสถนั้น เมื่อกระทำประทักษิณครบ ๓ รอบแล้ว จุดธูปเทียนที่สีมาหน้าอุโบสถ กราบ ๓ ครั้ง แล้วยืนขึ้นกล่าวคำวันทาสีมา ดังนี้
๑.วันทาสีมา – วันทาพระประทาน
         
          อุกาสะ  วันทามิ  ภันเต,  สัพพัง  อะปะราธัง  ขะมะถะ  เม  ภันเต,  มะยา กะตัง  ปุญญัง  สามินา  อะนุโมทิตัพพัง,  สามินา  กะตัง  ปุญญัง  มัยหัง  ทาตัพพัง,  สาธุ  สาธุ  อะนุโมทามิ,
          (นั่งลงว่า) สัพพัง  อะปะราธัง  ขะมะถะเม  ภันเต, (กราบ ๑ ครั้ง แล้วว่า) อุกาสะ  ทะวารัตตะเยนะ  กะตัง,  สัพพัง  อะปะราธัง  ขะมะถะ  เม  ภันเต, (กราบ ๑ ครั้ง แล้วยืนขึ้นว่า)  วันทามิ  ภันเต,  สัพพัง  อะปะราธัง  ขะมะถะ  เม  ภันเต,  มะยา  กะตัง  ปุญญัง  สามินา  กะตัง  ปุญญัง  มัยหัง  ทาตัพพัง,  สาธุ  สาธุ  อะนุโมทามิ  (นั่งลง กราบ ๓ ครั้ง)
          บิดามารดาหรือญาติผู้ใหญ่จูงมืออุปสัมปทาเปกข์เข้าภายในพระอุโบสถ  อุปสัมปทาเปกข์พึงทำความเคารพพระประธาน ด้วยการวันทาพระอย่างเดียวกับวันทาสีมา ฉะนั้น
          เสร็จแล้วมานั่งที่ท้ายอาสนะพระสงฆ์ ที่พื้นพระอุโบสถ เพื่อรับผ้าไตรจากบิดามารดาหรือญาติผู้ใหญ่หรือท่านผู้มีจิตศรัทธาผู้จัดการบรรพชาอุปสมบทให้ กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง ยื่นแขนรับผ้าไตรพร้อมกับมือที่ประนมเรียบร้อย  แล้วขึ้นอาสนะสงฆ์เดินเข่าเข้าหาพระอุปัชฌาย์ ถวายผ้าไตรแด่พระอุปัชฌาย์ แล้วเอี้ยวตัวไปทางขวามือ รับเครื่องสักการะถวายแด่พระอุปัชฌาย์ แล้วกราบ ๓ ครั้ง พระอุปัชฌาย์ยกผ้าไตรขึ้นใส่แขนแล้วยืนด้วยความเคารพ ให้เท้าทั้งสองชิดกัน ก้มตัวเล็กน้อย เปล่งวาจาขอบบรรพชา ดังนี้
๒.คำขอบรรพชา
          อุกาสะ  วันทามิ  ภันเต,  สัพพัง  อะปะราธัง  ขะมะถะ  เม  ภันเต,  มะยา  กะตัง  ปุญญัง  สามินา  อะนุโมทิตัพพัง,  สามินา  กะตัง  ปุญญัง  มัยหัง  ทาตัพพัง,  สาธุ  สาธุ  อะนุโมทามิ, อุกาสะ  การุญญัง  กัตวา  (อ่านว่า กัต-ตะ-วา)  ปัพพัชชัง  เทถะ  เม  ภันเต, (นั่งคุกเขาประนมมือว่า)
อะหัง  ภันเต,  ปัพพัชชัง  ยาจามิ,
ทุติยัมปิ  อะหัง  ภันเต,  ปัพพัชชัง  ยาจามิ,
ตะติยัมปิ  อะหัง  ภันเต,  ปัพพัชชัง  ยาจามิ,
(สัพพะทุกขะ  นิสสะระณะ  นิพพานะ
สัจฉิกะระณัตถายะ  อิมัง  กาสาวัง  คะเหตวา  (อ่านว่า คะ-เหต-ตะ-วา)
ปัพพาเชถะ  มัง  ภันเต,  อนุกัมปัง  อุปาทายะ)
ว่า ๓ ครั้ง พระอุปัชฌาย์รับผ้าไตร แล้วพึงว่าต่อไป
(สัพพะทุกขะ  นิสสะระณะ  นิพพานะ
สัจฉิกะระณัตถายะ  เอตัง  กาสาวัง  ทัตวา (อ่านว่า ทัต-ตะ-วา)
ปัพพาเชถะ  มัง  ภันเต,  อนุกัมปัง  อุปาทายะ)
ว่า ๓ ครั้ง จบแล้วกราบ ๓ ครั้ง
          นั่งพับเพียบประนมมือ ตั้งใจฟังโอวาท ซึ่งพระอุปัชฌาย์จะสอนให้รู้จักคุณของพระรัตนตรัย  ให้รู้ถึงความมุ่งหมายแห่งการบรรพชาอุปสมบท และสอนให้เรียนตจปัญจกกัมมัฏฐาน ไว้เป็นอุบายสำหรับสงบระงับจิตใจ ทั้งโดยอนุโลม ทั้งโดยปฏิโลม พึงว่าตาม
เกสา,  โลมา,  นะขา,  ทันตา,  ตะโจ,
ตะโจ,  ทันตา,  นะขา,  โลมา,  เกสา,
          ครั้นแล้วพระอุปัชฌาย์พึงสวมอังสะให้อุปสัมปทาเปกข์ มอบผ้ากาสาวะให้ออกไปครอง แล้วเข้ามาหาพระอาจารย์ซึ่งนั่งคอยอยู่ท้ายพระสงฆ์ ถวายเครื่องสักการะกราบ ๓ ครั้ง ยืนประนมมือเปล่งวาจา ดังนี้
๓.คำขอสรณะและศีล
          อุกาสะ  วันทามิ  ภันเต,  สัพพัง  อะปะราธัง  ขะมะถะ  เม  ภันเต,  มะยา  กะตัง  ปุญญัง  สามินา  อะนุโมทิตัพพัง,  สามินา  กะตัง  ปุญญัง  มัยหัง  ทาตัพพัง,  สาธุ  สาธุ  อะนุโมทามิ,  อุกาสะ  การุญญัง  กัตวา (อ่านว่า กัต-ตะ-วา)  ติสะระเณนะ  สะหะ  สีลานิ  เทถะ  เม  ภันเต,  (นั่งคุกเข่าประนมมือว่า)
อะหัง  ภันเต  สะระณะสีลัง  ยาจามิ,
ทุติยัมปิ  อะหัง  ภันเต  สะระณะสีลัง  ยาจามิ,
ตะติยัมปิ  อะหัง  ภันเต  สะระณะสีลัง  ยาจามิ,
พระอาจารย์ประนมมือ  กล่าวคำนมัสการให้อุปสัมปทาเปกข์ว่าตามดังนี้
          นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ  (ว่า ๓ ครั้ง)
          พระอาจารย์พึงว่า  เอวัง  วะเทหิ  หรือ  ยะมะหัง  วะทามิ  ตัง  วะเทหิ  พึงรับว่า  อามะ  ภันเต  แล้ว  พระอาจารย์พึงให้สรณคมน์และศีล นาคพึงว่าตามต่อไป
          พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ,  ธัมมัง  สะระณัง  คัจฉามิ,  สังฆัง  สะระณัง  คัจฉามิ,
          ทุติยัมปิ  พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ,  ทุติยัมปิ  ธัมมัง  สะระณัง  คัจฉามิ, ทุติยัมปิ   สังฆัง  สะระณัง  คัจฉามิ,
          ตะติยัมปิ  พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ,  ตะติยัมปิ  ธัมมัง  สะระณัง  คัจฉามิ,  ตะติยัมปิ  สังฆัง  สะระณัง  คัจฉามิ,
         
          พระอาจารย์พึงว่า  ติสะระณะคะมะนัง  นิฏฐิตัง  พึงรับว่า  อามะ  ภันเต  แล้วพึงให้ศีล  ๑๐ ต่อไป
๑.ปาณาติปาตา  เวระมะณี,  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
๒.อะทินนาทานา  เวระมะณี,   สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
๓.อะพรัหมะจะริยา  เวระมะณี,  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
๔.มุสาวาทา  เวระมะณี,  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
๕.สุรา  เมระยะ  มัชชะ  ปะมาทัฏฐานา  เวระมะณี, สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
๖.วิกาละโภชะนา  เวระมะณี,  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
๗.นัจจะ  คีตะ  วาทิตะ  วิสูกะ  ทัสสะนา  เวระมะณี, สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
๘.มาลา  คันธะ  วิเลปะนะ  ธาระณะ  มัณฑะนะ (อ่านว่า มัณ-ดะ-นะ)
วิภูสะนัฏฐานา  เวระมะณี,  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
๙.อุจจาสะยะนะ  มะหาสะยะนา  เวระมะณี, สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
๑๐.ชาตะ  รูปะ  ระชะตะ  ปฏิคคะหะณา  เวระมะณี, สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
(อิมานิ  ทะสะ  สิกขาปะทานิ  สะมาทิยามิ)
         
ว่า ๓ ครั้ง กราบ ๓ ครั้ง แล้วยืนประนมมือ เปล่งวาจาต่อไปว่า
         
          วันทามิ  ภันเต,  สัพพัง  อะปะราธัง  ขะมะถะ  เม  ภันเต,  มะยา  กะตัง  ปุญญัง  สามินา  อะนุโมทิตัพพัง,  สามินา  กะตัง  ปุญญัง  มัยหัง  ทาตัพพัง,  สาธุ  สาธุ  อะนุโมทามิ,

(นั่งคุกเขากราบ ๓ ครั้ง)

          ต่อจากนี้ รับบาตร แล้วเข้าหาพระอุปัชฌาย์วางบาตรไว้ด้านซ้ายมือ พึงเอาดอกไม้ธูปเทียนซึ่งวางอยู่บนฝาบาตร ถวายพระอุปัชฌาย์ กราบ ๓ ครั้ง ยืนประนมมือขึ้น กล่าวคำขอนิสัย ดังนี้
๔.คำขอนิสัย
          อุกาสะ  วันทามิ  ภันเต,  สัพพัง  อะปะราธัง  ขะมะถะ  เม  ภันเต,  มะยา  กะตัง  ปุญญัง  สามินา  อะนุโมทิตัพพัง,  สามินา  กะตัง  ปุญญัง  มัยหัง  ทาตัพพัง,  สามินา  กะตัง  ปุญญัง  มัยหัง  ทาตัพพัง,  สาธุ  สาธุ  อะนุโมทามิ,  อุกาสะ  การุญญัง  กัตวา (อ่านว่า กัต-ตะ-วา)  นิสสะยัง  เทถะ  เม  ภันเต,  (นั่งคุกเข่าประนมมือว่า)
อะหัง  ภันเต,  นิสสะยัง  ยาจามิ
ทุติยัมปิ  อะหัง  ภันเต,  นิสสะยัง  ยาจามิ
ตะติยัมปิ  อะหัง  ภันเต,  นิสสะยัง  ยาจามิ
อุปัชฌาโย  เม  ภันเต  โหหิ,  อุปัชฌาโย  เม  ภันเต  โหหิ,
อุปัชฌาโย  เม  ภันเต  โหหิ.
..
พระอุปัชฌาย์กล่าว
อุปสัมปทาเปกข์ (นาค) พึงรับ
ปะฏิรูปัง
อุกาสะ  สัมปะฏิจฉามิ
โอปายิกัง
สัมปะฏิจฉามิ
ปาสาทิเกนะ  สัมปาเทหิ
สัมปะฏิจฉามิ
          อุปสัมปทาเปกข์พึงกล่าวต่อไปว่า  อัชชะตัคเคทานิ  เถโร,  มัยหัง  ภาโร,  อะหัมปิ  เถรัสสะ  ภาโร  ว่า ๓ ครั้ง จบแล้วกราบ ๓ ครั้ง  ยืนประนมมือเปล่งวาจาว่า
          วันทามิ  ภันเต,  สัพพัง  อะปะราธัง  ขะมะถะ  เม  ภันเต,  มะยา  กะตัง  ปุญญัง  สามินา  อะนุโมทิตัพพัง,  สามินา  กะตัง  ปุญญัง  มัยหัง  ทาตัพพัง,  สาธุ  สาธุ  อะนุโมทามิ,
(นั่งคุกเข่ากราบ ๓ ครั้ง)
          ต่อจากนี้  พระอุปัชฌาย์พึงตั้งชื่อให้อุปสัมปทาเปกข์ และบอกชื่อพระอุปัชฌาย์  พึงรับว่า  อามะ  ภันเต  แล้วบอกบริขารต่อไป  พึงรับว่า  อามะ  ภันเต  ทุกครั้ง
คำบอก
คำรับ
อะยันเต  ปัตโต
อามะ  ภันเต
อะยัง  สังฆาฏิ
อามะ  ภันเต
อะยัง  อุตตะราสังโค
อามะ  ภันเต
อะยัง  อันตะระวาสะโก
อามะ  ภันเต
          เสร็จแล้วพึงเอาบาตรคล้องตัวอุปสัมปทาเปกข์  และพึงบอกให้ออกไปข้างนอก ด้วยคำว่า  คัจฉะ อะมุมหิ โอกาเส ติฏฐาหิ
          อุปสัมปทาเปกข์พึงถอยหลังออก  พอพ้นเขตพระสงฆ์ แล้วหันหน้าลุกเดินประนมมือไปยืนที่ผนังพระอุโบสถ  อย่าเหยีบพรมเล็กที่ปูไว้ ยืนหันหน้าเข้าหาพระประธาน ครั้นแล้วพระกรรมวาจาจารย์ และพระอนุสาวนาจารย์ จะสวดสมมติตนแล้วออกไปถามอันตรายิกธรรม  เมื่อท่านถามพึงตอบ
พระอุปัชฌาย์ถาม
นาคตอบ

กุฏฐัง
นัตถิ  ภันเต
คัณโฑ
นัตถิ  ภันเต
กิลาโส
นัตถิ  ภันเต
โสโส
นัตถิ  ภันเต
อะปะมาโร
นัตถิ  ภันเต
มนุสโสสิ
อามะ  ภันเต
ปุริโสสิ
อามะ  ภันเต
ภุชิสโสสิ
อามะ  ภันเต
อะนะโณสิ
อามะ  ภันเต
นะสิ  ระชะภะโฏ
อามะ  ภันเต
อะนุญญาโตสิ  มาตาปิตูหิ
อามะ  ภันเต
ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ
อามะ  ภันเต
ปะริปุณณัเต ปัตตะจีวะรัง
อามะ  ภันเต
กินนาโมสิ
อะหัง  ภันเต.............นามะ  (ตรงช่องว่าง คือชื่อฉายาของนาค)
โก  นามะ  เต  อุปัชฌาโย
อุปัชฌาโย  เม  ภันเต,
อายัสสะมา...............นามะ (ตรงช่องว่าง คือชื่อฉายาของพระอุปัชฌาย์)
          พระอาจารย์ทั้ง ๒ จะกลับเข้าสู่ท่ามกลางพระสงฆ์  สวดเรียกอุปสัมปทาเปกข์เข้าไปในท่ามกลางพระสงฆ์  เมื่อท่านสวดจบแล้ว พึงเดินประนมมือเข้าไปนั่งระหว่างพระสงฆ์คู่สุดท้าย กราบ ๓ ครั้ง แล้วเปล่งวาจาขออุปสมบทว่า
๕.คำขออุปสมบท
          สังฆัมภันเต  อุปะสัมปะทัง  ยาจามิ,  อุลลุมปะตุมัง  ภันเต  สังโฆ,  อะนุกัมปัง  อุปาทายะ,
          ทุติยัมปิ  ภันเต  สังฆัง  อุปะสัมปะทัง  ยาจามิ,  อุลลุมปะตุมัง  ภันเต  สังโฆ,  อะนุกัมปัง  อุปาทายะ,
          ตะติยัมปิ  ภันเต  สังฆัง  อุปะสัมปะทัง  ยาจามิ,  อุลลุมปะตุมัง  ภันเต  สังโฆ,  อะนุกัมปัง  อุปาทายะ,
          จบแล้วกราบ ๓ ครั้ง  เดินเข่าเข้าไปให้ใกล้พระอุปัชฌาย์ นั่งคุกเข่าประนมมือ พระอาจารย์ทั้ง ๒ จะสมมติตนถามอันตรายิกธรรม พึงถามพึงตอบโดยนัยก่อน  ท่านทั้งสองจะได้สวดญัตติจตุตถกรรมวาจาไปจนจบ
          เมื่อจบแล้วเอาบาตรออกวางไว้ด้านซ้ายมือ กราบ ๓ ครั้ง นั่งพับเพียบประนมมือฟังอนุศาสน์ เมื่อท่านสวดอนุศาสน์จบให้รับว่า  อามะ  ภันเต  แล้วนั่งคุกเข่า  กราบ ๓ ครั้ง  แล้วหันตัวไปทางขวามือ รับสักการะถวายพระอนุสาวนาจารย์ แล้วกราบ ๓ ครั้ง นั่งพับเพียบตรงพระอุปัชฌาย์ เตรียมกรวดน้ำ
          เมื่อท่านขึ้น ยะถา...... ให้เริ่มเทน้ำอุทิศส่วนกุศล เมื่อ  ยะถา  จบ รับ สัพพี  เทน้ำให้หมด  แล้วประนมมือฟัง เมื่อพระสงฆ์อนุโมทนาจบ นั่งคุกเข่ากราบ ๓ ครั้ง และพึงกราบพระประธานอีก ๓ ครั้ง พร้อมกับพระสงฆ์ทั้งหลาย  แล้วอุ้มบาตรออกไปนั่งท้ายอาสนะสงฆ์ เพื่อรับประเคนจตุปัจจัยไทยทานจากญาติโยมต่อไป เป็นเสร็จพิธีบรรพชาอุปสมบท
จบพิธีบรรพชาอุปสมบท
บทสวดมนต์ก่อนนอน บทแผ่เมตตา

สัพพีติโย

สัพพีติโย

สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินาสะตุ 
มาเต ภะวัตวันตะราโย สุขีทีฆายุโก ภะวะ 
อภิวาทะนะสีลิสสะนิจจัง วุฒฑาปะจายิโน 
จัตตาโร ธัมมา วัชชันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง 

สัพพีติโยแปล

ความจัญไรทั้งปวงจงพินาศไป โรคทั้งปวงของท่านจงหาย 
อันตรายทั้งปวงจงอย่ามีแก่ท่าน ท่านจงเป็นผู้มีความสุข มีอายุยืน 
บุคคลผู้มีปกติไหว้กราบ มีปกติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่เป็นนิตย์
ธรรม 4 ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น