บทสวดมนต์ก่อนนอน บทแผ่เมตตา

การแห่นาค


     
การแห่นาค ณ วัดบึงทองหลาง 8 พฤศจิกายน 2558
 
    ชีวิตขั้นที่สอง รองจากเกิดก็คือ การบวช ผู้ชายทุกคนเมื่ออายุครบแล้วจะต้องบวช การบวชถือว่าเป็นการอบรมบ่มนิสัยให้ดีมีศีลธรรม และเป็นการตอบแทนบุญคุณของบิดามารดาผู้ให้กำเนิด ดังนั้นการบวชจึงถือว่า เป็นประเพณีที่จำเป็นสำหรับลูกผู้ชายทุกคน
 การบวช
        คำว่า บวช มาจากศัพท์ว่า ปะวะชะ แปลว่า งดเว้น ได้แก่ งดเว้นในสิ่งที่ควรงดเว้น คือ เว้นจากกิจบ้านการเรือนมาบำเพ็ญเพียรทำกิจพระศาสนา มีสวดมนต์ ภาวนา เป็นต้น การบวชนั้น ถ้าเป็น สามเณร เรียก บรรพชา ถ้าเป็น พระภิกษุ เรียก อุปสมบท มี 3 อย่าง คือ
    - พระพุทธเจ้าบวชให้ด้วยเปล่งวาจาว่า มาเถิดพระภิกษุ ธรรมเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อพ้นทุกข์โดยชอบเถิด เรียก เอหิภิกขุอุปสัมปทา
    - พระสาวกบวชให้ ด้วยเปล่งวาจาว่า พุทธัง สรณังคัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ เรียก ติสรณคมนูปสัมปทา
    - พระสงฆ์ 5 รูป รวมทั้งพระอุปัชฌาย์บวชให้ด้วยการสวดญัตติ 1 ครั้ง อนุสาวนา 3 ครั้ง รวมเป็น 4 ครั้ง เรียก ญัตติจตุตถกรรมวาจา  การบวชข้อที่ 3 นี้ เป็นการบวชที่ทำอยู่ในปัจจุบัน

นาคคืออะไร?

            คำว่า นาค คนที่จะบวชเขาเรียกว่า นาค แปลว่า ผู้ประเสริฐ หรือ ผู้ไม่ทำบาป เหตุที่ได้ชื่อว่า นาค เรื่องเดิมมีอยู่ว่า พญานาคแปลงตัวเป็นมนุษย์มาบวช ในพระพุทธศาสนาเวลานอนหลับกลับเพศเป็นนาคตามเดิม วันหนึ่งพวกภิกษุไปกราบทูลพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสเรียกเธอมาถาม ได้ความว่าเป็นเรื่องจริง จึงสั่งให้สึกเสียพญานาคมีความอาลัยในเพศบวช จึงกราบทูลขอฝากชื่อนาคไว้ ถ้าผู้ใดจะเข้ามาบวชขอให้ เรียกชื่อว่า นาค คำว่านาค จึงเป็นชื่อเรียกผู้ที่จะบวชจนถึงทุกวันนี้


การประเคนนาค

            เมื่อบุตรหลานมีอายุครบพอที่จะบวชเป็นพระหรือเณรได้แล้ว พ่อแม่จะนำไปฝากไว้กับเจ้าวัดก่อนบวช ประมาณหนึ่งเดือน เพื่อให้ศึกษาเล่าเรียน ทำวัตรสวดมนต์ ท่องบ่นขานนาค ทำพินธุ ปัจจุอธิษฐาน เรียนหนังสือธรรม การนำลูกหลานไปฝากไว้กับเจ้าวัด เขาจัดดอกไม้ ธูปเทียนใส่ขันนำตัวนาคไป เมื่อท่านรับขันแล้วก็ตีโปง หรือ ระฆัง ให้ชาวบ้านได้อนุโมทนาสาธุการนี้ เรียกว่า การประเคนนาค


การปล่อยนาค

            อีก 2-3 วัน จะถึงวันบวชนาคจะนำดอกไม้ธูปเทียนไปลาญาติพี่น้อง เพื่อสมมาลาโทษผู้หลักผู้ใหญ่ที่ตนเคารพนับถือ และไปสั่งลาชู้สาว ถ้ามี หากมีหนี้สินติดตัวก็รีบชำระชดใช้เสีย เพื่อจะได้เป็นคนบริสุทธิ์ การปล่อยนาคให้ไปไหนมาไหนก็ได้มีกำหนด 3 วัน เรียกว่า ปล่อยนาค ทั้งนี้เพื่อให้นาคได้มีโอกาสเวลาบวชแล้วจะได้ตั้งหน้าบำเพ็ญกุศลต่อไป


กองบวช

            เครื่องใช้ที่จะนำมาบวชเรียกกองบวช ที่จำเป็นจะขาดเสียไม่ได้คือ บริขาร 8 มีผ้านุ่ง ผ้าห่ม ผ้าสังฆาฏิ บาตร มีดโกน เข็ม ประคตเอว ผ้ากรองน้ำ บริขารนอกนี้ มีเสื่อ สาด อาสนะ ร่ม รองเท้า เต้า โถน เตียง ตั่ง จะมีหรือไม่มีก็ได้ไม่จำเป็น ถ้าทำพร้อมกันหลายกองให้ขนมารวมกันไว้ที่วัด ตอนค่ำสวดมนต์ เสร็จแล้วบังสุกุลอุทิศส่วนกุศลแด่ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว กลางคืน มีมหรสพ ตอนเช้าถวายอาหารบิณฑบาต ถ้าทำบ้านใครบ้านมัน ตอนค่ำนิมนต์พระไปสวดมนต์ที่บ้าน กองบวชใช้เม็ง คือ เตียงหามออกมา เตียงนั้นใช้เป็นเตียงนอนของพระบวชใหม่ เมื่อกองบวชมารวมกันแล้ว ก่อนจะสู่ขวัญนาค

สู่ขวัญนาค ต้องบังสุกุลอุทิศส่วนกุศลแด่ผู้ตายแล้วด้วย



การแห่นาค

            การแห่นาคทำตามศรัทธาของเจ้าภาพจะแห่ด้วยช้าง ม้า รถ เรือก็ได้ ที่แห่ด้วยม้าคงจะถือเอาอย่างพระสิทธัตถะคราวออกบวช เป็นตัวอย่าง นาคทุกคนต้อง โกนผม โกนคิ้ว นุ่งเสื้อผ้าให้เรียบร้อย ถ้าตั้งกองบวชไว้ที่บ้าน ให้แห่กองบวชมารวมกันที่วัดเมื่อพร้อมกันแล้วก็แห่รอบศาลาอีกครั้งหนึ่ง การสู่ขวัญนาค เมื่อแห่รอบศาลาแล้วนาคทุกคนเตรียมเข้าพาขวัญ ญาติพี่น้องนั่งห้อมล้อมพาขวัญพราหมณ์เริ่มทำพิธีสู่ขวัญ เสร็จแล้วผูกแขนนาคนำเข้าพิธีบวชต่อไป

การบวชนาค

            เวลาจะเข้าโบสถ์ พ่อจูงมือซ้าย แม่จูงมือขวา ถ้าพ่อแม่ไม่มีให้ญาติพี่น้องเป็นผู้จูงถึงภายในโบสถ์แล้วนาคจะนำดอกไม้ธูปเทียนไปบูชาพระ เสร็จกลับมานั่งที่ พ่อแม่จะยกผ้าไตรส่งให้นาค ก่อนจะรับผ้าไตรนาคต้องกราบพ่อแม่ก่อน แล้วอุ้มผ้าไตรเดินคุกเข่าประนมมือเข้าไปท่ามกลางสงฆ์
            กล่าวคำขอบรรพชาต่อ พระอุปัชฌาชย์ แล้วออกมาครองผ้า แล้วเข้าไปขอศีลกับพระอาจารย์เป็นอันได้บวชเป็นสามเณรแล้ว ต่อจากนั้นอุ้มบาตรเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์กล่าวคำขอนิสัย เมื่อท่านเอาบาตรคล้องคอแล้วมอบบาตรจีวรให้ ให้ออกไปยืนข้างนอก ตอนนี้พระอาจารย์คู่สวดจะสมมุติตนเป็นผู้สอนและซักซ้อมนาคแล้วออกไปซักถามนาค พอถามแล้วก็เรียกนาคเข้ามาถามต่อหน้าสงฆ์ พระอุปัชฌาย์ทำหน้าที่บอกเล่าสงฆ์ แล้วอาจารย์สวดเป็นผู้ถามพอถามเสร็จก็สวดญัติ 1 ครั้ง และอนุสาวนา 3 ครั้ง เรียก ญัตติจตุตถกรรมวาจา เป็นอันว่านาคนั้นได้บวชเป็นพระภิกษุโดยสมบูรณ์แล้ว

การบอกอนุศาสน์  

            เมื่อบวชแล้ว พระอุปัชฌาย์จะบอกอนุศาสน์ คือ บอกกิจที่พระควรทำและไม่ควรทำ
กิจที่ควรทำมี 4 อย่างคือ นุ่งห่มผ้าบังสุกุล เที่ยวบิณฑบาต อยู่โคนไม้ ฉันยาดองด้วยน้ำมูตร
กิจที่ไม่ควรทำมี 4 อย่างคือ เสพเมถุน ลักของลักขโมย ฆ่าสัตว์ พูดอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน

การกรวดน้ำ

            พอพระอุปัชฌาย์บอกอนุศาสน์จบแล้วถือว่าเสร็จการบรรพชาอุปสมบทแล้ว ต่อจากนั้นพระใหม่จะนำจตุปัจจัยไปถวายพระอุปัชฌาย์อาจารย์ และพระสงฆ์ เสร็จแล้วออกไปนั่งท้ายอาสนะ คอยรับอัฏฐะบริขาร ถ้าผู้ชายถวายให้รับด้วยมือ ถ้าผู้หญิงถวายให้ใช้ผ้ากราบรับเสร็จแล้วเข้ามานั่งที่เดิม เตรียมกรวดน้ำไว้ เมื่อพระอุปัชฌาย์ว่า "ยะถา..... " พระใหม่เริ่มกรวดน้ำพอท่านว่าถึง "............ มณีโชติรโส ยถา........ " ให้กรวดน้ำให้หมด การกรวดน้ำในพิธีนี้ถือว่าเป็นการแผ่ส่วนกุศลแด่ญาติที่ล่วงลับไปแล้วเป็นอันเสร็จพิธีเกี่ยวกับบวชแต่เท่านี้ เมื่อครบ 3 วันแล้ว จะมีการฉลองพระบวชใหม่ การฉลองก็คือจัดอาหารคาวหวาน มาเลี้ยงพระ และสู่ขวัญให้พระบวชใหม่


การลาสิกขา 

         ผู้บวชในสมัยโบราณเป็นผู้เบื่อต่อโลก จึงไม่มีการลาสิกขา ครั้นต่อมาการบวชได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นประเพณีแล้ว  ผู้บวชไม่ประสงค์จะอยู่ก็ต้องลาสิกขา การลาสิกขาก็ต้องทำเป็นกิจจะลักษณะพิธีทำ มีดังนี้
         ผู้ประสงค์จะลาสิกขาเตรียมดอกไม้ ธูปเทียนไปทำวัตร พระอุปัชฌาย์อาจารย์เมื่อถึงวันกำหนดแล้วให้จัดสถานที่ นิมนต์พระสงฆ์มาพร้อมกันแล้ว พระภิกษุผู้จะลาสิกขาต้องแสดงอาบัติเสียก่อนแล้วว่า "นโม 3 จบ" ว่าอดีต "ปัจจเวกขณะ 1 จบ"
คำลาสิกขาว่า " สิกขัง ปัจจักขามิ คีหิติ มัง ธาเรถะ ข้าพเจ้าขอลาสิกขา ขอท่านทั้งหลายจงจดจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นคฤหัสถ์ ณ บัดนี้" ว่า 3 จบ แล้วพระเถระจะชักผ้าสังฆาฏิออก จึงออกไปเปลื้องผ้าเหลือง ออกแล้วจึงนุ่งห่มผ้าขาวเข้ามากล่าว คำขอสรณคมณ์และศีล 5 แล้วกล่าวคำ ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามะกะว่า "อหัง พุทธัญจะ ธัมมัญจะ สังฆัญจะ สรณังคโต สาธุ ภันเต ภิกขุสังโฆ พุทธมามโกติ มัง ธาเรถะ" พระสงฆ์นั่งอันดับรับสาธุพร้อมกัน แล้วผู้ลาสิกขากราบ 3 หน เสร็จแล้วผู้ลาสิกขานำเครื่องสักการะไปถวาย พระสงฆ์อนุโมทนาเป็นเสร็จพิธี ส่วนการลาสิกขาของสามเณร ไม่มีคงอนุโลมตามอย่างพระภิกษุ

ขอขอบคุณข้อมูลมีประโยชน์จาก http://www.lib.ubu.ac.th/

บทสวดมนต์ก่อนนอน บทแผ่เมตตา

วันพระ 2559

ปฏิทินวันพระ 2559 (ปีมะแม - ปีวอก)

คริสตศักราช 2016 , มหาศักราช 1937 - 1938 2 , รัตนโกสินทร์ศก 234 - 235 2
สัปตศก จุลศักราช 1377 ถึง อัฐศก จุลศักราช 1378 2 , อธิกสุรทิน ปกติมาส อธิกวาร

ปฏิทินวันพระ เดือนมกราคม 2559
วันเสาร์ที่ 2 มกราคม 2559 แรม ๘ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีมะแม
วันศุกร์ที่ 8 มกราคม 2559  แรม ๑๔ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีมะแม
วันเสาร์ที่ 16 มกราคม 2559 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนยี่(๒) ปีมะแม
วันเสาร์ที่ 23 มกราคม 2559 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนยี่(๒) ปีมะแม
วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม 2559 แรม ๘ ค่ำ เดือนยี่(๒) ปีมะแม

ปฏิทินวันพระ กุมภาพันธ์ 2559
วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559 แรม ๑๕ ค่ำ เดือนยี่(๒) ปีมะแม
วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีมะแม
วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2559 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีมะแม วันมาฆบูชา

ปฏิทินวันพระ มีนาคม 2559
วันอังคารที่ 1 มีนาคม 2559 แรม ๘ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีมะแม
วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม 2559 แรม ๑๔ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีมะแม
วันอังคารที่ 15 มีนาคม 2559 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีมะแม
วันอังคารที่ 22 มีนาคม 2559 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีมะแม
วันพุธที่ 30 มีนาคม 2559 แรม ๘ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีมะแม

ปฏิทินวันพระ เมษายน 2559
วันพุธที่ 6 เมษายน 2559 แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีมะแม วันจักรี
วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน 2559 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีวอก วันสงกรานต์
วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน 2559 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีวอก
วันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2559 แรม ๘ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีวอก

ปฏิทินวันพระ พฤษภาคม 2559 วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม 2559
แรม ๑๔ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีวอก วันฉัตรมงคล
วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม 2559 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีวอก
วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม 2559 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีวอก วันวิสาขบูชา
วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม 2559 แรม ๘ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีวอก วันอัฏฐมีบูชา

ปฏิทินวันพระ มิถุนายน 2559
วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน 2559 แรม ๑๕ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีวอก
วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน 2559 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนเจ็ด(๗) ปีวอก
วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน 2559 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนเจ็ด(๗) ปีวอก
วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน 2559 แรม ๘ ค่ำ เดือนเจ็ด(๗) ปีวอก

ปฏิทินวันพระ กรกฎาคม 2559
วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม 2559 แรม ๑๕ ค่ำ เดือนเจ็ด(๗) ปีวอก
วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม 2559 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนแปด(๘) ปีวอก
วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม 2559 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนแปด(๘) ปีวอก วันอาสาฬหบูชา
วันพุธที่ 20 กรกฎาคม 2559 แรม ๑ ค่ำ เดือนแปด(๘) ปีวอก วันเข้าพรรษา
วันพุธที่ 27 กรกฎาคม 2559 แรม ๘ ค่ำ เดือนแปด(๘) ปีวอก

ปฏิทินวันพระ สิงหาคม 2559
วันพุธที่ 3 สิงหาคม 2559 แรม ๑๕ ค่ำ เดือนแปด(๘) ปีวอก
วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม 2559 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนเก้า(๙) ปีวอก
วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม 2559 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนเก้า(๙) ปีวอก
วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม 2559 แรม ๘ ค่ำ เดือนเก้า(๙) ปีวอก

ปฏิทินวันพระ กันยายน 2559
วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน 2559 แรม ๑๔ ค่ำ เดือนเก้า(๙) ปีวอก
วันศุกร์ที่ 9 กันยายน 2559 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีวอก
วันศุกร์ที่ 16 กันยายน 2559 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีวอก
วันเสาร์ที่ 24 กันยายน 2559 แรม ๘ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีวอก

ปฏิทินวันพระ ตุลาคม 2559
วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม 2559 แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีวอก
วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม 2559 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีวอก
วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม 2559 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีวอก วันออกพรรษา
วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม 2559 แรม ๘ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีวอก
วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม 2559 แรม ๑๔ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีวอก

ปฏิทินวันพระ พฤศจิกายน 2559
วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2559 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีวอก
วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2559 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีวอก วันลอยกระทง
วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2559 แรม ๘ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีวอก
วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน 2559 แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีวอก

ปฏิทินวันพระ ธันวาคม 2559
วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2559 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีวอก
วันพุธที่ 14 ธันวาคม 2559 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีวอก
วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม 2559 แรม ๘ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีวอก
วันพุธที่ 28 ธันวาคม 2559 แรม ๑๔ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีวอก

วันพระ 2559
วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ หรือ วันอุโบสถ หมายถึง วันประชุมของพุทธศาสนิกชนเพื่อปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาในพระพุทธศาสนาประจำสัปดาห์ หรือที่เรียกกันทั่วไปอีกคำหนึ่งว่า "วันธรรมสวนะ" อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดยวันพระเป็นวันที่มีกำหนดตามปฏิทินจันทรคติ โดยมีเดือนละ 4 วัน ได้แก่ วันขึ้น ๘ ค่ำ, วันขึ้น ๑๕ ค่ำ (วันเพ็ญ), วันแรม ๘ ค่ำ และวันแรม ๑๕ ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม ๑๔ ค่ำ)

วันพระนั้นเดิมเป็นธรรมเนียมของปริพาชกอัญญเดียรถีย์ (นักบวชนอกพระพุทธศาสนา) ที่จะประชุมกันแสดงธรรมทุก ๆ วัน ๘ ค่ำ และ วัน ๑๕ ค่ำ ซึ่งในสมัยต้นพุทธกาล พระพุทธเจ้ายังคงไม่ได้ทรงวางระเบียบในเรื่องนี้ไว้ ต่อมาพระเจ้าพิมพิสารได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และกราบทูลพระราชดำริของพระองค์ว่านักบวชศาสนาอื่นมีวันประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนในศาสนาของเขา แต่ว่าพุทธศาสนายังไม่มี พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้มีการประชุมพระสงฆ์ในวัน ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์ประชุมสนทนาและแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวันดังกล่าว โดยตามพระไตรปิฎกเรียกวันพระว่า วันอุโบสถ (วัน ๘ ค่ำ) หรือวันลงอุโบสถ (วัน ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำ) แล้วแต่กรณี

หลังจากนั้น พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันธรรมสวนะสืบมา โดยจะเป็นวันสำคัญที่พุทธศาสนิกชนจะไปประชุมกันฟังพระธรรมเทศนาจากพระสงฆ์ที่วัด ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่าได้มีประเพณีวันพระมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

วันพระในปัจจุบัน คงเหลือธรรมเนียมปฏิบัติอยู่แต่เฉพาะประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท เช่น ศรีลังกา, พม่า, ไทย, ลาว และเขมร (ในอดีตประเทศเหล่านี้ถือวันพระเป็นวันหยุดราชการ) โดยพุทธศาสนิกชนเถรวาทนับถือว่าวันนี้เป็นวันสำคัญที่จะถือโอกาสไปวัดเพื่อทำบุญถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์และฟังพระธรรมเทศนา สำหรับผู้ที่เคร่งครัดในพระพุทธศาสนาอาจถือศีลแปดหรือศีลอุโบสถในวันพระด้วย นอกจากนี้ชาวพุทธยังถือว่าวันพระไม่ควรทำบาปใด ๆ โดยเชื่อกันว่าการทำบาปหรือไม่ถือศีลห้าในวันพระถือว่าเป็นบาปมากกว่าในวันอื่น

ในประเทศไทย หลังจากวันพระได้ถูกยกเลิกไม่ให้เป็นวันหยุดราชการ ทำให้วันพระที่กำหนดวันตามปฏิทินจันทรคติส่วนใหญ่ไม่สอดคล้องกับปฏิทินที่ใช้กันอยู่ทั่วไป (เช่น วันพระไปตรงกับวันทำงานปกติ) ซึ่งคือหนึ่งในสาเหตุสำคัญในปัจจุบันที่ทำให้พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยห่างจากการเข้าวัดเพื่อทำบุญในวันพระ

นอกจากนี้ ในประเทศไทยยังมีคำเรียกวันก่อนวันพระหนึ่งวันว่า วันโกน เพราะปกติในวันขึ้น ๑๔ ค่ำปกติ ก่อนวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เป็นธรรมเนียมของพระสงฆ์ในประเทศไทยที่จะโกนผมในวันนี้

การเตรียมตัวไปวัดเพื่อทำบุญ

การเตรียมตัวไปวัดเพื่อทำบุญต้องเตรียมความพร้อม องค์ประกอบ 3 ประการคือ

1. การเตรียมกาย
ควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีขาวเรียบ หรือสีที่ ไม่ฉูดฉาด ไม่หลวมไม่คับเกินไป เนื่องจากจะไม่คล่องตัว ไม่ประดับร่างกายด้วยเครื่องประดับ ไม่ใช้เครื่องประทินผิว เช่น น้ำหอม เป็นต้น รับประทานอาหารแต่พอดี ไม่อิ่มจน อึดอัด เพื่อประทังความหิว เนื่องจากหากมีอาการหิว กระหายจะทำให้จิตใจไม่สบายไปด้วย ควรงดเว้นอาหาร ที่อาจจะทำให้เกิดอาการท้องเสีย เป็นต้น

2. การเตรียมใจ
ให้ตัดความวิตกกังวลที่จะเกิดขึ้น เช่น เรื่อง ครอบครัวเรื่องการงานเป็นต้น

3. การเตรียมสิ่งของ
ให้จัดเตรียมดอกไม้ธูปเทียนเพื่อบูชาพระ อาหาร หวานคาว รวมถึงสิ่งของอื่น ๆ (ปัจจัยไทยธรรม) เพื่อไป ถวายพระสงฆ์ตามกำลังและความศรัทธา

ขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรม

การปฏิบัติกิจกรรมในการทำบุญของแต่ละวัด อาจจะแตกต่างกันในรายละเอียด แต่หลักปฏิบัติโดยส่วนใหญ่แล้วทุกวัดจะปฏิบัติเหมือนกันคือ

1. การทำวัตรสวดมนต์ (พระสงฆ์จะทำวัตร สวดมนต์ก่อน เมื่อพระสงฆ์ทำวัตรสวดมนต์จบแล้ว อุบาสกอุบาสิกาจึงทำวัตรสวดมนต์ต่อจากพระสงฆ์ บางวัดอาจจะสวดมนต์แปล แต่บางวัดอาจจะสวดมนต์เป็นล้วน ๆไม่สวดแปลให้ทำตามธรรมเนียมของวัดนั้นๆ)

2. การรับศีล ในวันธรรมดาโดยทั่วไปจะสมาทานศีล 5 ในวันธรรมสวนะ (วันพระ) จะสมาทานอุโบสถศีลหรือศีลอุโบสถมี 8 ข้อ

3. การฟังธรรม

4. การบำเพ็ญจิตภาวนา

5. การถวายสังฆทาน

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก myhora.com
บทสวดมนต์ก่อนนอน บทแผ่เมตตา

แห่นาค งานบวช ลูกชายโหน่ง ชะชะช่า

แห่นาค งานบวช ลูกชายโหน่ง ชะชะช่า

เมื่อลูกชายคนรอง "บุหรี่ ศิวนาถ เอี่ยมสุข" ได้ลาอุปสมบททดแทนคุณพ่อแม่ โดยถือฤกษ์ดีในช่วงเช้าของวันที่21 มิถุนายน 2559 ซึ่งเป็นเดือนเกิดของลูกชายสุดที่รัก ให้ลูกศึกษาธรรมะภายใต้ร่มกาสาวพัสตร์ เพื่อนำพระธรรมคำสอนของสมเด็จพระพุทธเจ้ามาขัดเกลาความคิดและจิตใจให้เป็นคนที่ดียิ่งๆขึ้น  ที่วันนี้เราก็ไม่พลาดที่จะนำบรรยากาศแห่นาค ที่รวมเอาดาราตลกชื่อดังทั่วฟ้าเมืองไทย มาฟ้อนรำหน้านาคกันอย่างสนุกสนาน! มาให้ชมกัน







ขอบคุณภาพจาก: IG nong_chachacha / FB ห้องข่าวบันเทิง ช่อง Workpoint / เท่ง เถิดเทิง แฟนคลับ

บทสวดมนต์ก่อนนอน บทแผ่เมตตา

บทสวดอุกาสะ

บทสวดอุกาสะ

พิธีขอบรรพชาอุปสมบท (แบบอุกาสะ)

คู่มือบรรพชาอุปสมบท : วัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร

วิธีการท่องคำขอบรรพชาอุปสมบท
          นาคที่จะท่องคำบรรพชาอุปสมบทนี้ ข้อแรกต้องอ่านคำที่จะท่องให้ชัดเจนถูกต้องอักขระและเสียงโดยแน่ชัดเสียก่อน และเริ่มท่องจำในภายหลัง ถ้าสงสัยเสียงของอักขระคำใด ต้องสอบถามท่านผู้รู้เสียก่อน มิฉะนั้นจะทำให้ท่องผิดและจำยากยิ่งขึ้น  ข้อสำคัญต้องท่องออกเสียง อย่าท่องในใจ เพราะจะเป็นเหตุให้การกล่าวคำบรรพชาอุปสมบทไม่คล่องปาก ในเวลาบรรพชาอุปสมบท บทที่จะเริ่มตั้งแต่คำวันทาสีมา-บรรพชา-อุปสมบท จนถึงคำำกรวดน้ำแบบสั้น ท่องเฉพาะบทที่พิมพ์เป็นอักษรเข้ม ส่วนอักษรเล็กธรรมดาที่เป็นคำอธิบายถึงพิธีการไม่ต้องท่องจำ อ่านให้เข้าใจเท่านั้น

พิธีขอบรรพชาอุปสมบท

          อุปสัมปทาเปกข์พึงโกนผม หนวด เครา ทิ้ง ตัดเล็บมือ เท้า นุ่งห่มให้เรียบร้อย กระทำประทักษิณคือเดินเวียนขวารอบพระอุโบสถ ๓ รอบ มือประนมถือดอกไม้ธูปเทียน พึงระลึกถึงพระพุทธคุณ ในรอบที่ ๑ พระธรรมคุณ ในรอบที่ ๒ พระสังฆคุณ ในรอบที่ ๓ ต้องเดินด้วยตนเอง ไม่ขึ้นคานหาม ไม่ขี่คอ ไม่ขี่ช้างขี่ม้า เพื่อแสดงความเคารพต่อพระปฏิมา คือพระประธานในพระอุโบสถ ซึ่งเปรียบประดุจพระพุทธเจ้าประทับอยู่ในพระอุโบสถนั้น เมื่อกระทำประทักษิณครบ ๓ รอบแล้ว จุดธูปเทียนที่สีมาหน้าอุโบสถ กราบ ๓ ครั้ง แล้วยืนขึ้นกล่าวคำวันทาสีมา ดังนี้
๑.วันทาสีมา – วันทาพระประทาน
         
          อุกาสะ  วันทามิ  ภันเต,  สัพพัง  อะปะราธัง  ขะมะถะ  เม  ภันเต,  มะยา กะตัง  ปุญญัง  สามินา  อะนุโมทิตัพพัง,  สามินา  กะตัง  ปุญญัง  มัยหัง  ทาตัพพัง,  สาธุ  สาธุ  อะนุโมทามิ,
          (นั่งลงว่า) สัพพัง  อะปะราธัง  ขะมะถะเม  ภันเต, (กราบ ๑ ครั้ง แล้วว่า) อุกาสะ  ทะวารัตตะเยนะ  กะตัง,  สัพพัง  อะปะราธัง  ขะมะถะ  เม  ภันเต, (กราบ ๑ ครั้ง แล้วยืนขึ้นว่า)  วันทามิ  ภันเต,  สัพพัง  อะปะราธัง  ขะมะถะ  เม  ภันเต,  มะยา  กะตัง  ปุญญัง  สามินา  กะตัง  ปุญญัง  มัยหัง  ทาตัพพัง,  สาธุ  สาธุ  อะนุโมทามิ  (นั่งลง กราบ ๓ ครั้ง)
          บิดามารดาหรือญาติผู้ใหญ่จูงมืออุปสัมปทาเปกข์เข้าภายในพระอุโบสถ  อุปสัมปทาเปกข์พึงทำความเคารพพระประธาน ด้วยการวันทาพระอย่างเดียวกับวันทาสีมา ฉะนั้น
          เสร็จแล้วมานั่งที่ท้ายอาสนะพระสงฆ์ ที่พื้นพระอุโบสถ เพื่อรับผ้าไตรจากบิดามารดาหรือญาติผู้ใหญ่หรือท่านผู้มีจิตศรัทธาผู้จัดการบรรพชาอุปสมบทให้ กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง ยื่นแขนรับผ้าไตรพร้อมกับมือที่ประนมเรียบร้อย  แล้วขึ้นอาสนะสงฆ์เดินเข่าเข้าหาพระอุปัชฌาย์ ถวายผ้าไตรแด่พระอุปัชฌาย์ แล้วเอี้ยวตัวไปทางขวามือ รับเครื่องสักการะถวายแด่พระอุปัชฌาย์ แล้วกราบ ๓ ครั้ง พระอุปัชฌาย์ยกผ้าไตรขึ้นใส่แขนแล้วยืนด้วยความเคารพ ให้เท้าทั้งสองชิดกัน ก้มตัวเล็กน้อย เปล่งวาจาขอบบรรพชา ดังนี้
๒.คำขอบรรพชา
          อุกาสะ  วันทามิ  ภันเต,  สัพพัง  อะปะราธัง  ขะมะถะ  เม  ภันเต,  มะยา  กะตัง  ปุญญัง  สามินา  อะนุโมทิตัพพัง,  สามินา  กะตัง  ปุญญัง  มัยหัง  ทาตัพพัง,  สาธุ  สาธุ  อะนุโมทามิ, อุกาสะ  การุญญัง  กัตวา  (อ่านว่า กัต-ตะ-วา)  ปัพพัชชัง  เทถะ  เม  ภันเต, (นั่งคุกเขาประนมมือว่า)
อะหัง  ภันเต,  ปัพพัชชัง  ยาจามิ,
ทุติยัมปิ  อะหัง  ภันเต,  ปัพพัชชัง  ยาจามิ,
ตะติยัมปิ  อะหัง  ภันเต,  ปัพพัชชัง  ยาจามิ,
(สัพพะทุกขะ  นิสสะระณะ  นิพพานะ
สัจฉิกะระณัตถายะ  อิมัง  กาสาวัง  คะเหตวา  (อ่านว่า คะ-เหต-ตะ-วา)
ปัพพาเชถะ  มัง  ภันเต,  อนุกัมปัง  อุปาทายะ)
ว่า ๓ ครั้ง พระอุปัชฌาย์รับผ้าไตร แล้วพึงว่าต่อไป
(สัพพะทุกขะ  นิสสะระณะ  นิพพานะ
สัจฉิกะระณัตถายะ  เอตัง  กาสาวัง  ทัตวา (อ่านว่า ทัต-ตะ-วา)
ปัพพาเชถะ  มัง  ภันเต,  อนุกัมปัง  อุปาทายะ)
ว่า ๓ ครั้ง จบแล้วกราบ ๓ ครั้ง
          นั่งพับเพียบประนมมือ ตั้งใจฟังโอวาท ซึ่งพระอุปัชฌาย์จะสอนให้รู้จักคุณของพระรัตนตรัย  ให้รู้ถึงความมุ่งหมายแห่งการบรรพชาอุปสมบท และสอนให้เรียนตจปัญจกกัมมัฏฐาน ไว้เป็นอุบายสำหรับสงบระงับจิตใจ ทั้งโดยอนุโลม ทั้งโดยปฏิโลม พึงว่าตาม
เกสา,  โลมา,  นะขา,  ทันตา,  ตะโจ,
ตะโจ,  ทันตา,  นะขา,  โลมา,  เกสา,
          ครั้นแล้วพระอุปัชฌาย์พึงสวมอังสะให้อุปสัมปทาเปกข์ มอบผ้ากาสาวะให้ออกไปครอง แล้วเข้ามาหาพระอาจารย์ซึ่งนั่งคอยอยู่ท้ายพระสงฆ์ ถวายเครื่องสักการะกราบ ๓ ครั้ง ยืนประนมมือเปล่งวาจา ดังนี้
๓.คำขอสรณะและศีล
          อุกาสะ  วันทามิ  ภันเต,  สัพพัง  อะปะราธัง  ขะมะถะ  เม  ภันเต,  มะยา  กะตัง  ปุญญัง  สามินา  อะนุโมทิตัพพัง,  สามินา  กะตัง  ปุญญัง  มัยหัง  ทาตัพพัง,  สาธุ  สาธุ  อะนุโมทามิ,  อุกาสะ  การุญญัง  กัตวา (อ่านว่า กัต-ตะ-วา)  ติสะระเณนะ  สะหะ  สีลานิ  เทถะ  เม  ภันเต,  (นั่งคุกเข่าประนมมือว่า)
อะหัง  ภันเต  สะระณะสีลัง  ยาจามิ,
ทุติยัมปิ  อะหัง  ภันเต  สะระณะสีลัง  ยาจามิ,
ตะติยัมปิ  อะหัง  ภันเต  สะระณะสีลัง  ยาจามิ,
พระอาจารย์ประนมมือ  กล่าวคำนมัสการให้อุปสัมปทาเปกข์ว่าตามดังนี้
          นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ  (ว่า ๓ ครั้ง)
          พระอาจารย์พึงว่า  เอวัง  วะเทหิ  หรือ  ยะมะหัง  วะทามิ  ตัง  วะเทหิ  พึงรับว่า  อามะ  ภันเต  แล้ว  พระอาจารย์พึงให้สรณคมน์และศีล นาคพึงว่าตามต่อไป
          พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ,  ธัมมัง  สะระณัง  คัจฉามิ,  สังฆัง  สะระณัง  คัจฉามิ,
          ทุติยัมปิ  พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ,  ทุติยัมปิ  ธัมมัง  สะระณัง  คัจฉามิ, ทุติยัมปิ   สังฆัง  สะระณัง  คัจฉามิ,
          ตะติยัมปิ  พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ,  ตะติยัมปิ  ธัมมัง  สะระณัง  คัจฉามิ,  ตะติยัมปิ  สังฆัง  สะระณัง  คัจฉามิ,
         
          พระอาจารย์พึงว่า  ติสะระณะคะมะนัง  นิฏฐิตัง  พึงรับว่า  อามะ  ภันเต  แล้วพึงให้ศีล  ๑๐ ต่อไป
๑.ปาณาติปาตา  เวระมะณี,  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
๒.อะทินนาทานา  เวระมะณี,   สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
๓.อะพรัหมะจะริยา  เวระมะณี,  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
๔.มุสาวาทา  เวระมะณี,  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
๕.สุรา  เมระยะ  มัชชะ  ปะมาทัฏฐานา  เวระมะณี, สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
๖.วิกาละโภชะนา  เวระมะณี,  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
๗.นัจจะ  คีตะ  วาทิตะ  วิสูกะ  ทัสสะนา  เวระมะณี, สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
๘.มาลา  คันธะ  วิเลปะนะ  ธาระณะ  มัณฑะนะ (อ่านว่า มัณ-ดะ-นะ)
วิภูสะนัฏฐานา  เวระมะณี,  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
๙.อุจจาสะยะนะ  มะหาสะยะนา  เวระมะณี, สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
๑๐.ชาตะ  รูปะ  ระชะตะ  ปฏิคคะหะณา  เวระมะณี, สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
(อิมานิ  ทะสะ  สิกขาปะทานิ  สะมาทิยามิ)
         
ว่า ๓ ครั้ง กราบ ๓ ครั้ง แล้วยืนประนมมือ เปล่งวาจาต่อไปว่า
         
          วันทามิ  ภันเต,  สัพพัง  อะปะราธัง  ขะมะถะ  เม  ภันเต,  มะยา  กะตัง  ปุญญัง  สามินา  อะนุโมทิตัพพัง,  สามินา  กะตัง  ปุญญัง  มัยหัง  ทาตัพพัง,  สาธุ  สาธุ  อะนุโมทามิ,

(นั่งคุกเขากราบ ๓ ครั้ง)

          ต่อจากนี้ รับบาตร แล้วเข้าหาพระอุปัชฌาย์วางบาตรไว้ด้านซ้ายมือ พึงเอาดอกไม้ธูปเทียนซึ่งวางอยู่บนฝาบาตร ถวายพระอุปัชฌาย์ กราบ ๓ ครั้ง ยืนประนมมือขึ้น กล่าวคำขอนิสัย ดังนี้
๔.คำขอนิสัย
          อุกาสะ  วันทามิ  ภันเต,  สัพพัง  อะปะราธัง  ขะมะถะ  เม  ภันเต,  มะยา  กะตัง  ปุญญัง  สามินา  อะนุโมทิตัพพัง,  สามินา  กะตัง  ปุญญัง  มัยหัง  ทาตัพพัง,  สามินา  กะตัง  ปุญญัง  มัยหัง  ทาตัพพัง,  สาธุ  สาธุ  อะนุโมทามิ,  อุกาสะ  การุญญัง  กัตวา (อ่านว่า กัต-ตะ-วา)  นิสสะยัง  เทถะ  เม  ภันเต,  (นั่งคุกเข่าประนมมือว่า)
อะหัง  ภันเต,  นิสสะยัง  ยาจามิ
ทุติยัมปิ  อะหัง  ภันเต,  นิสสะยัง  ยาจามิ
ตะติยัมปิ  อะหัง  ภันเต,  นิสสะยัง  ยาจามิ
อุปัชฌาโย  เม  ภันเต  โหหิ,  อุปัชฌาโย  เม  ภันเต  โหหิ,
อุปัชฌาโย  เม  ภันเต  โหหิ.
..
พระอุปัชฌาย์กล่าว
อุปสัมปทาเปกข์ (นาค) พึงรับ
ปะฏิรูปัง
อุกาสะ  สัมปะฏิจฉามิ
โอปายิกัง
สัมปะฏิจฉามิ
ปาสาทิเกนะ  สัมปาเทหิ
สัมปะฏิจฉามิ
          อุปสัมปทาเปกข์พึงกล่าวต่อไปว่า  อัชชะตัคเคทานิ  เถโร,  มัยหัง  ภาโร,  อะหัมปิ  เถรัสสะ  ภาโร  ว่า ๓ ครั้ง จบแล้วกราบ ๓ ครั้ง  ยืนประนมมือเปล่งวาจาว่า
          วันทามิ  ภันเต,  สัพพัง  อะปะราธัง  ขะมะถะ  เม  ภันเต,  มะยา  กะตัง  ปุญญัง  สามินา  อะนุโมทิตัพพัง,  สามินา  กะตัง  ปุญญัง  มัยหัง  ทาตัพพัง,  สาธุ  สาธุ  อะนุโมทามิ,
(นั่งคุกเข่ากราบ ๓ ครั้ง)
          ต่อจากนี้  พระอุปัชฌาย์พึงตั้งชื่อให้อุปสัมปทาเปกข์ และบอกชื่อพระอุปัชฌาย์  พึงรับว่า  อามะ  ภันเต  แล้วบอกบริขารต่อไป  พึงรับว่า  อามะ  ภันเต  ทุกครั้ง
คำบอก
คำรับ
อะยันเต  ปัตโต
อามะ  ภันเต
อะยัง  สังฆาฏิ
อามะ  ภันเต
อะยัง  อุตตะราสังโค
อามะ  ภันเต
อะยัง  อันตะระวาสะโก
อามะ  ภันเต
          เสร็จแล้วพึงเอาบาตรคล้องตัวอุปสัมปทาเปกข์  และพึงบอกให้ออกไปข้างนอก ด้วยคำว่า  คัจฉะ อะมุมหิ โอกาเส ติฏฐาหิ
          อุปสัมปทาเปกข์พึงถอยหลังออก  พอพ้นเขตพระสงฆ์ แล้วหันหน้าลุกเดินประนมมือไปยืนที่ผนังพระอุโบสถ  อย่าเหยีบพรมเล็กที่ปูไว้ ยืนหันหน้าเข้าหาพระประธาน ครั้นแล้วพระกรรมวาจาจารย์ และพระอนุสาวนาจารย์ จะสวดสมมติตนแล้วออกไปถามอันตรายิกธรรม  เมื่อท่านถามพึงตอบ
พระอุปัชฌาย์ถาม
นาคตอบ

กุฏฐัง
นัตถิ  ภันเต
คัณโฑ
นัตถิ  ภันเต
กิลาโส
นัตถิ  ภันเต
โสโส
นัตถิ  ภันเต
อะปะมาโร
นัตถิ  ภันเต
มนุสโสสิ
อามะ  ภันเต
ปุริโสสิ
อามะ  ภันเต
ภุชิสโสสิ
อามะ  ภันเต
อะนะโณสิ
อามะ  ภันเต
นะสิ  ระชะภะโฏ
อามะ  ภันเต
อะนุญญาโตสิ  มาตาปิตูหิ
อามะ  ภันเต
ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ
อามะ  ภันเต
ปะริปุณณัเต ปัตตะจีวะรัง
อามะ  ภันเต
กินนาโมสิ
อะหัง  ภันเต.............นามะ  (ตรงช่องว่าง คือชื่อฉายาของนาค)
โก  นามะ  เต  อุปัชฌาโย
อุปัชฌาโย  เม  ภันเต,
อายัสสะมา...............นามะ (ตรงช่องว่าง คือชื่อฉายาของพระอุปัชฌาย์)
          พระอาจารย์ทั้ง ๒ จะกลับเข้าสู่ท่ามกลางพระสงฆ์  สวดเรียกอุปสัมปทาเปกข์เข้าไปในท่ามกลางพระสงฆ์  เมื่อท่านสวดจบแล้ว พึงเดินประนมมือเข้าไปนั่งระหว่างพระสงฆ์คู่สุดท้าย กราบ ๓ ครั้ง แล้วเปล่งวาจาขออุปสมบทว่า
๕.คำขออุปสมบท
          สังฆัมภันเต  อุปะสัมปะทัง  ยาจามิ,  อุลลุมปะตุมัง  ภันเต  สังโฆ,  อะนุกัมปัง  อุปาทายะ,
          ทุติยัมปิ  ภันเต  สังฆัง  อุปะสัมปะทัง  ยาจามิ,  อุลลุมปะตุมัง  ภันเต  สังโฆ,  อะนุกัมปัง  อุปาทายะ,
          ตะติยัมปิ  ภันเต  สังฆัง  อุปะสัมปะทัง  ยาจามิ,  อุลลุมปะตุมัง  ภันเต  สังโฆ,  อะนุกัมปัง  อุปาทายะ,
          จบแล้วกราบ ๓ ครั้ง  เดินเข่าเข้าไปให้ใกล้พระอุปัชฌาย์ นั่งคุกเข่าประนมมือ พระอาจารย์ทั้ง ๒ จะสมมติตนถามอันตรายิกธรรม พึงถามพึงตอบโดยนัยก่อน  ท่านทั้งสองจะได้สวดญัตติจตุตถกรรมวาจาไปจนจบ
          เมื่อจบแล้วเอาบาตรออกวางไว้ด้านซ้ายมือ กราบ ๓ ครั้ง นั่งพับเพียบประนมมือฟังอนุศาสน์ เมื่อท่านสวดอนุศาสน์จบให้รับว่า  อามะ  ภันเต  แล้วนั่งคุกเข่า  กราบ ๓ ครั้ง  แล้วหันตัวไปทางขวามือ รับสักการะถวายพระอนุสาวนาจารย์ แล้วกราบ ๓ ครั้ง นั่งพับเพียบตรงพระอุปัชฌาย์ เตรียมกรวดน้ำ
          เมื่อท่านขึ้น ยะถา...... ให้เริ่มเทน้ำอุทิศส่วนกุศล เมื่อ  ยะถา  จบ รับ สัพพี  เทน้ำให้หมด  แล้วประนมมือฟัง เมื่อพระสงฆ์อนุโมทนาจบ นั่งคุกเข่ากราบ ๓ ครั้ง และพึงกราบพระประธานอีก ๓ ครั้ง พร้อมกับพระสงฆ์ทั้งหลาย  แล้วอุ้มบาตรออกไปนั่งท้ายอาสนะสงฆ์ เพื่อรับประเคนจตุปัจจัยไทยทานจากญาติโยมต่อไป เป็นเสร็จพิธีบรรพชาอุปสมบท
จบพิธีบรรพชาอุปสมบท
บทสวดมนต์ก่อนนอน บทแผ่เมตตา

สัพพีติโย

สัพพีติโย

สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินาสะตุ 
มาเต ภะวัตวันตะราโย สุขีทีฆายุโก ภะวะ 
อภิวาทะนะสีลิสสะนิจจัง วุฒฑาปะจายิโน 
จัตตาโร ธัมมา วัชชันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง 

สัพพีติโยแปล

ความจัญไรทั้งปวงจงพินาศไป โรคทั้งปวงของท่านจงหาย 
อันตรายทั้งปวงจงอย่ามีแก่ท่าน ท่านจงเป็นผู้มีความสุข มีอายุยืน 
บุคคลผู้มีปกติไหว้กราบ มีปกติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่เป็นนิตย์
ธรรม 4 ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น
บทสวดมนต์ก่อนนอน บทแผ่เมตตา

ยะถา วาริวะหา

ยะถา วาริวะหา


ยะถา วาริวะหา ปูรา 
ปะริปูเรนติ สาคะรัง
เอวะเมวะ อิโต ทินนัง 
เปตานัง อุปะกัปปะติ
อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง 
ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ
สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา 
จันโท ปัณณะระโส ยะถา
มะณิ โชติระโส ยะถา ฯ

ยะถา วาริวะหา (แปล)

ยะถา วาริวะหา ปูรา ปะริปูเรนติ สาคะรัง
ห้วงน้ำที่เต็มยังสมุทรสาครให้บริบูรณ์ได้ฉันใด
เอวะเมวะ อิโต ทินนัง เปตานัง อุปะกัปปะติ
ทานที่ท่านอุทิศให้แล้วในโลกนี้ ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่ผู้ที่ละโลกนี้ไปแล้วได้ ฉันนั้น
อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง
ขออิฏฐผลที่ท่านปราถนาแล้ว ตั้งใจแล้ว
ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ
จงสำเร็จโดยฉับพลัน
สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา
ขอดำริทั้งปวงจงเต็มที่
จันโท ปัณณะระโส ยะถา เหมือนพระจันทร์วันเพ็ญ
มะณิ โชติระโส ยะถา
เหมือนดังแก้วมณีอันสว่างไสวควรยินดี
บทสวดมนต์ก่อนนอน บทแผ่เมตตา

บทแผ่ส่วนกุศล

บทแผ่ส่วนกุศล

อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร 
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่มารดา บิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดา บิดาของข้าพเจ้ามีความสุข 

อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย 
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้ามีความสุข 

อิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจริยา 
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้ามีความสุข 

อิทัง สัพพะเทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเทวา 
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข 

อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา 
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข 

อิทัง สัพพะเวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเวรี 
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข 

อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา 
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมีความสุขทั่วหน้ากันเทอญ
บทสวดมนต์ก่อนนอน บทแผ่เมตตา

บทกรวดน้ำแบบย่อ

บทกรวดน้ำแบบย่อ

อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย

บทกรวดน้ำแบบย่อแปล

ขอบุญนี้ จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าเถิด ขอญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าจงมีความสุข สุขใจเถิดฯ
บทสวดมนต์ก่อนนอน บทแผ่เมตตา

คาถาบูชาพระพิฆเนศ

คาถาบูชาพระพิฆเนศ


โองการพินธุ นาถังอุปปันนัง พรหมมะโน จะอินโธ
พิฆฆะเนศโต มหาเทโว อะหังวันทา มิสัพพะทา สิทธิกิจจัง
สิทธิกัมมัง สิทธิการิยัง ประสิทธิเม 
 
 
วิธีการบูชาพระพิฆเนศ อย่างถูกต้อง
           การบูชาพระพิฆเนศ หากไม่สะดวกที่จะจัดเตรียมอย่างยิ่งใหญ่ ก็สามารถเตรียมแต่พอประมาณ เพื่อการสวดบูชาได้ทุกๆวัน ซึ่งหลักๆ แล้วมีสิ่งที่ต้องเตรียม เพื่อการบูชาพระพิฆเนศ ดังต่อไปนี้
อุปกรณ์
1.  รูปภาพ หรือ เทวรูปพระพิฆเนศ ที่เราบูชาอยู่

2.  ธูป หรือ กำยาน (อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่าง)      ถ้าใช้กำยานแท่ง ให้ใช้ 1 อัน ใช้ได้ทุกกลิ่น
      ถ้าใช้กำยานผง ให้ตักใส่โถตามความเหมาะสม
      
ถ้าใช้ธูป จะใช้กี่ดอกก็ได้...ขอย้ำว่ากี่ดอกก็ได้ เพราะที่อินเดียจริงๆ แล้วไม่มีการกำหนดจำนวนธูปมาตั้งแต่โบราณ    เนื่องจากเหตุผลที่จุดธูปก็คือ ต้องการถวายกลิ่นหอมแก่เทพ และ ให้ควันธูปเป็นสื่อนำคำอธิษฐานเราไปสู่เทพ เพราะฉะนั้น ถ้าอยากประหยัดก็ใช้ 1 ดอกก็ดี  ลดโลกร้อนด้วย มีคนไทยเท่านั้นที่ถือว่าธูป 1 ดอกคือการไหว้ศพ ชาวฮินดูเค้าหยิบออกมาจากซองได้มากี่ดอกก็จุดเลยครับ ไม่มีการนับ หรือถ้าจะให้สบายใจ ไหว้แบบคนไทยหรือจีน ก็ใช้ 3 ดอก 5 ดอก 9 ดอกครับ

3.  กระถางธูป หรือ แท่นวางกำยาน
      ใส่ดิน หรือ ผงธูป ลงในกระถางธูปก่อนเพื่อให้สามารถปักธูปได้  สำหรับแท่นวางกำยานก็มีขายหลายแบบ ส่วนใหญ่ทำจากกระเบื้องเซรามิก ดินเผา ทองเหลือง ฯลฯ หรือจะซื้อถ้วยเล็กๆ ตื้นๆ แบบที่ใส่พริกน้ำปลา มาใช้แทนก็ได้ครับ
4. ประทีป (ดวงไฟ เทียน ตะเกียงน้ำมัน การบูร)
    ใช้เป็นไฟส่องสว่าง ควรมี 2 ดวงซ้าย-ขวา หรือเทียน 2 เล่ม  

     ถ้าใช้เทียน ก็ปักลงแท่นให้เรียบร้อย
     ถ้าใช้ตะเกียงน้ำมัน ตรวจสอบน้ำมันให้มีเพียงพอ
เครื่องสังเวย
1. ดอกไม้
     ถวายได้ทุกพันธุ์ ควรเป็นดอกไม้สด จะร้อยเป็นพวง เป็นช่อ หรือดอกเดียวก็ได้ ให้ล้างทำความสะอาดก่อนถวาย  ดอกไม้ที่ดีที่สุดคือ ดอกบัว เพราะในบทสวดของเทพทุกพระองค์ มีหลายๆโศลก หลายๆบท ที่กล่าวว่า  "ขอน้อมบูชาเทพผู้มีพระบาทงดงามดั่งดอกบัว" คือ ยกย่องสรรเสริญว่าทวยเทพทั้งหลายนั้นมีเท้าที่สวยงามเปรียบเสมือนดอกบัวที่งดงาม  ส่วนดอกไม้อื่นๆ ได้หมดครับ ไม่ว่าจะเป็นดาวเรือง มะลิ กุหลาบทุกสี ขอให้สด สะอาด มีกลิ่นหอมโชยก็ได้แล้ว
2. น้ำสะอาด
     อันนี้ต้องมี ขาดไม่ได้เด็ดขาด ห้ามใช้น้ำจากขวดที่เราเคยเปิดกินมาแล้ว แนะนำให้จัดขวดน้ำแยกไว้เพื่อรินถวายเทพโดยเฉพาะ โดยเทใส่แก้วเล็กๆ ซึ่งแก้วน้ำนี้ก็ต้องเป็นแก้วที่จะใช้ถวายเทพโดยเฉพาะเช่นเดียวกัน
3. นมสด
      (หากจัดหาไม่ได้ จะถวายน้ำเปล่าอย่างเดียวก็ได้) นมที่ใช้ถวาย ควรเป็นนมสด (จืด) ที่ไม่ใช่รสดัดแปลง เช่น รสช็อคโกแล็ต รสสตรอเบอรี่ หรือนมเปรี้ยวดัดแปลงต่างๆก็ไม่ควรครับ แต่เราสามารถถวาย โยเกิร์ต ได้ โดยให้เลือกรสธรรมชาติ เนื่องจากโยเกิร์ต คือวิธีการทำนมเปรี้ยวในแบบของโบราณนั่นเอง หากนมเป็นกล่อง สามารถเสียบหลอดไว้ได้ หรือถ้าจะให้ดีก็เทใส่แก้ว
4. ผลไม้
      ผลไม้อะไรก็ใช้ถวายได้ ไม่ต้องแพงมาก ใช้ผลไม้ตามฤดูกาล สับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ก็ดี ผลไม้ที่แนะนำคือ กล้วย อ้อย สาลี่ ชมพู่ มะขวิด ผลหว้า และ มะพร้าวผ่าซีก ใส่ในถาดหรือจานสะอาด (ซื้อมาเป็นกิโลๆ แช่เย็นไว้แล้วแบ่งออกมาถวาย ก็เหมาะสมในเศรษฐกิจยุคนี้)
5. ขนมหวาน
      ห้ามใช้ขนมที่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์ (ประมาณว่าแซนวิชหมูหยองนี่ห้าม) ควรเป็นขนมที่ทำจากแป้ง มีความหวาน มัน เน้นน้ำตาลและกะทิ จัดใส่ถาดหรือจานสะอาด ปัจจุบันอนุโลมให้มีส่วนผสมของไข่ได้ มิฉะนั้นจะหาขนมมาถวายยากมากๆ
***ห้ามถวายของคาว เช่น ข้าวผัดกระเพรา ก๋วยเตี๋ยว หัวหมู เป็ด ไก่ตอน ฯลฯ เพราะไม่เหมือนกับการเซ่นไหว้เจ้าแบบจีนนะครับ
***จาน ถาด แก้วน้ำ ให้จัดไว้สำหรับบูชาเทพเท่านั้น ใช้เสร็จแล้วล้างให้สะอาด เก็บแยกไว้ ห้ามใช้ปะปนกับของคน

***เครื่องสังเวยอื่นๆที่สามารถถวายได้ ได้แก่ พืชพรรณ ธัญญาหารต่างๆ ข้าวสาร ข้าวกล้อง เกลือ น้ำตาล เมล็ดพริกไทย เมล็ดถั่ว งาขาว งาดำ ใบชา เมล็ดกาแฟสด มะเขือ มะขวิด ใบกระเพรา ใบโหระพา เครื่องเทศต่างๆ ผักสดทุกชนิด และผลไม้ทุกชนิด
ขั้นตอนการบูชาพระพิฆเนศ
     เพื่อการสวดบูชาให้ได้ผลสูงสุด ควรเลือกเวลาที่เงียบสงัด เช่น เช้าตรู่ หรือ ก่อนนอน จะได้ไม่มีเสียง รบกวนจากผู้อื่น
1. นำของสังเวยทั้งหมด (น้ำ นม ผลไม้ ขนมหวาน) วางไว้หน้าเทวรูป
2. ดอกไม้ ถ้าเป็นช่อหรือดอกเดียวให้วางไว้ข้างหน้า ถ้าร้อยเป็นพวง สามารถนำไปคล้องที่พระกร หรือศาสตราวุธของเทวรูปได้
3.จุดกำยาน ธูป ประทีป เทียน
4. การพนมมือ ให้พนมมือแบนราบติดกันนะ ไม่ใช่แบบดอกบัวตูม แล้วตั้งจิตให้สงบนิ่ง
5. เมื่อจิตสงบนิ่งแล้ว ก็เริ่มสวดบูชา...การสวดมนต์นั้น ท่านสามารถใช้บทสวดใดก็ได้เพียงบทเดียว หรือจะสวดหลายๆ บทให้ต่อเนื่องกันก็ยิ่งดี การสวดมนต์นั้น หากยังจำบทสวดหลายๆบทไม่ได้ ก็ให้เลือกมา 1 บทที่จำได้ส่วนใหญ่นิยมเป็น โอม ศรี คเณศายะ นะมะฮา  หากมีเวลาน้อย สวดเพียง 1 จบก็เพียงพอ แต่ถ้ามีเวลามาก แนะนำให้ทำสมาธิด้วยการสวดมนต์ โดยวนไปเรื่อยๆ หรือจะเป็น 108 จบก็ดี
คาถาบูชา บทสวดมนต์ง่ายๆ สำหรับบูชาพระพิฆเนศ
 
หมายเหตุ : บทสวดของพราหมณ์-ฮินดู จะลงท้ายด้วย...นะมะห์ หรือ นะมะฮา หรือ นะมะหะ ใช้คำไหนก็ได้ไม่ผิดเพี้ยน ภาษาอังกฤษจะเขียนว่า NAMAH
โอม ศรี คเณศายะ นะมะฮา
ขอความสำเร็จในด้านต่างๆ มีโชค และมีทรัพย์เงินทอง สมความปรารถนา
(บูชาแบบสั้นๆ เมื่อเดินผ่านตามเทวาลัย, วัดต่างๆที่พระพิฆเณศประดิษฐานอยู่)
โอม พระพิฆเณศวร
สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ
ทุติยัมปิ พระพิฆเณศวร
สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ
ตะติยัมปิ พระพิฆเณศวร
สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ
(บทสวดของไทย สวดทุกวันเพื่อเป็นสิริมงคล)
 
โองการพินธุ นาถังอุปปันนัง พรหมมะโน จะอินโธ
พิฆฆะเนศโต มหาเทโว อะหังวันทา มิสัพพะทา สิทธิกิจจัง
สิทธิกัมมัง สิทธิการิยัง ประสิทธิเม
(พระพิฆเณศวร์ คาถาพระพิฆเณศวร์ใช้สวดเพื่อขอพรหรือปัดเป่าเหตุร้าย )


โอม ศรีคะเนศายะนะมะ
ชะยะคะเณศะ ชะยะคะเณศะ ชายะคะเณศะ
เทวา มาตา ชากี ปะระ วะตี ปิตามะหา เทวา ละฑุวัน
กา โกคะ ละเค สันตะ กะเร เสวา เอก ทันตะ
ทะยาวันดะ จาระ ภุชา ธารี มาเถ สินทูระ เสเห
มูเส กี อะสะวารี อันธะนะ โก อางขะ เทตะ
โก กายา พามณะนะ โก กุตรร เทตะ
โกทินะ นิระทะนะ มายาฯ
(คาถาบูชาพระพิฆเนศ ใครบูชาจะพ้นจากอุปสรรค ประสบความสำเร็จ)
6. ถวายไฟ หรือการทำ อารตี หากไม่สะดวกใช้ตะเกียงอารตี (ต้องใช้สำลีชุบน้ำมัน) สามารถถวายไฟแบบใช้เทียน หรือ การบูร ให้นำใส่ถาดแล้วจุดไฟ ยกขึ้นหมุนวนเป็นวงกลม (ตามเข็มนาฬิกา) 3 รอบ ต่อหน้าองค์เทวรูป หรือรูปภาพเทพที่เราบูชา แล้วใช้ฝ่ามืออังไฟ แล้วมาแต่ที่หน้าผาก เพื่อให้เกิดความสว่างแก่จิตและดวงปัญญา หรือแตะบริเวณอื่นๆ ที่เป็นโรคเจ็บป่วย
7. ขอพรตามประสงค์
    จากนั้นให้กล่าวคำว่า "โอม ศานติ...ศานติ...ศานติ" เพื่อขอความสันติให้บังเกิด เป็นอันเสร็จสิ้น (หรืออ่านในหน้ารวมบทสวด)
8. ลาเครื่องสังเวย
    ถ้าจุดเทียน สามารถเป่าเทียนให้ดับได้เลย เพื่อป้องกันอัคคีภัย (ใช้เทียนเล่มเดิมนี้ จุดบูชาในวันต่อไปได้เรื่อยๆ จนเทียนหมด)
    ถ้าจุดธูปหรือกำยาน ต้องรอให้หมดดอก จึงจะลาเครื่องสังเวยได้
    นำเครื่องสังเวยต่างๆ ยกขึ้นจรดหน้าผาก แล้วกล่าวว่า "...โอม..."  เพื่อขออนุญาตลาเครื่องสังเวย อย่าทิ้งอาหารไว้ให้เน่า
    น้ำเปล่า - สามารถนำมาล้างหน้าหรือแต้มหน้าผากเพื่อเป็นสิริมงคล
    นมสด - หากถวายเป็นกล่องหรือขวด ก็นำมาดื่มได้เลย  หากถวายเป็นแก้วเล็กๆ ก็ให้เททิ้ง ปล่อยไว้ค้างคืนจะทำให้นมบูด (บางคนดื่มแล้วท้องเสีย)
    ผลไม้และขนม - ยกออกมาใส่จาน เพื่อมาแบ่งกันทานในครอบครัว ถือเป็นอาหารทิพย์
(ไม่ควรทานทั้งๆที่อยู่ในจานหรือถาดสำหรับถวาย เพราะห้ามใช้ปนกับของท่านนะครับ)
9. ทำความสะอาด จาน แก้วน้ำ เชิงเทียน แท่นกำยาน ฯลฯ แล้วเก็บไว้ในที่เฉพาะ
     จะบูชาอย่างไรก็ตาม หลักสำคัญคือ ขณะสวดบูชาให้ตั้งสติให้แน่วแน่ สร้างบรรยากาศให้เกิดสมาธิ สวดมนต์ให้ถูกต้อง บูชาด้วยใจที่บริสุทธิ์ ไม่ขอพรด้วยความโลภ ไม่ขอพรที่มีการสาบแช่งผู้อื่น ไม่ขอพรด้วยความท้าทาย หากปฏิบัติขั้นตอนใดผิดพลาดก็ให้ขอขมา บารมีขององค์ท่านก็คุ้มครองเราได้เท่าๆกันครับ 

ขอขอบคุณ สยามเคณศ www.siamganesh.com
บทสวดมนต์ก่อนนอน บทแผ่เมตตา

บทสวดบูชาพระรัตนตรัย

บทสวดบูชาพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา


พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์ ดับแล้วซึ่งเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง

พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ


ข้าพเจ้าขออภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ)

สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม


พระธรรม เป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว

ธัมมัง นะมัสสามิ


ข้าพเจ้าขอนมัสการซึ่งพระธรรม (กราบ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ


พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ประฟฤติปฏิบัติดีแล้ว

สังฆัง นะมามิ


ข้าพเจ้าขอกราบไหว้ซึ่งพระสงฆ์ (กราบ)
บทสวดมนต์ก่อนนอน บทแผ่เมตตา

คําอาราธนาศีล

คําอาราธนาศีล

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (นะโม 3 จบ) 

มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ 
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ 
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ 

(ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอศีล ๕ ข้อพร้อมทั้งพระรัตนตรัยเพื่อประโยชน์แก่การจะรักษาต่างๆกัน) 

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ 
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ 

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ 
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ 

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ 
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ 

ปาณาติปาตา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ 
อทินนาทานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ 
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ 
มุสาวาทา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ 
สุรา เมระยะ มัชชะ ปะมาทัฏฐานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ 

อิมานิ ปัญจะ สิกขาปทาน สมาธิยามิ 
ลีเลนะ สุคติง ยันติ (ศีล นั้นจักเป็นเหตุให้ถึงความสุข) 
ลีเลนะ โภคะสัมปะทา (ศีล นั้นจักเป็นเหตุให้ได้มาซึ่ง โภคทรัพย์) 
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ (และศีลนั้นยัง จะเป็นเหตุให้ได้ไปถึง นิพพาน คือความดับเย็นจากกิเลศ เครื่องเศร้าหมอง ทั้งปวง) 
ตัสสมา สีลัง วิโสธะเย (ศีล จึงเป็นสิ่งที่วิเศษนักที่เธอทั้งหลายพึงยึดถือเป็นหลัก ประจำชีวิต ประจำจิตใจ ปฏิบัติ ให้ได้ ดังนี้ แล) 
บทสวดมนต์ก่อนนอน บทแผ่เมตตา

บทสวดทำวัตรเช้า

บทสวดทำวัตรเช้า

โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ 
สวากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม 
สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ 
ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง 
อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ 
สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ 
ปัจฉิมาชะนะตานุกัมปะมานะสา 
อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ 
อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ 

(แต่ถ้าแบบธรรมยุตพระเถระจะเริ่มจากที่นี่) 
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา 
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ) 
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม 
ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ) 
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ 
สังฆัง นะมามิ (กราบ) 

(เฉพาะแบบธรรมยุต-ผู้สวดนำกล่าวผู้เดียวว่า ยะมัมหะ โข มะยัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา โย โน ภะคะวา สัตถา ยัสสะ จะ มะยัง ภะคะวะโต ธัมมัง 
โรเจมะ อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง สะสัทธัมมัง สะสาวะกะสังฆัง อะภิปูชะยามะ) 

ปุพพภาคนมการ 

(นำ) หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส 
(รับ) นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ 
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ 
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ 

พุทธาภิถุติ 
(ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง พุทธาภิถุติง กะโรมะ เส) 
โย โส ตะถาคะโต อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ 
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร 
ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง 
พุทโธ ภะคะวา โย อิมัง โลกัง สะเทวะกัง สะมาระกัง 
สะพรหมะกัง สัสสะมะณะพราหมะณิง ปะชัง สะเทวะมะนุสสัง 
สะยัง อะภิญญา สัจฉิกัตวา ปะเวเทสิ โย ธัมมัง เทเสสิ อาทิกัลยาณัง 
มัชเฌกัลยาณัง ปะริโยสานะกัลยาณัง สาตถัง สะพยัญชะนัง เกวะละปะริปุณณัง 
ปะริสุทธัง พรหมะจะริยัง ปะกาเสสิ ตะมะหัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ 
ตะมะหัง ภะคะวันตัง สิระสา นะมามิ (กราบ) 

ธัมมาภิถุติ 
(ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง ธัมมาภิถุติง กะโรมะ เส) 
โย โส สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม 
สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก 
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ 
ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมามิ (กราบ) 

สังฆาภิถุติ 
(ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง สังฆาภิถุติง กะโรมะ เส) 
โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ 
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ 
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ 
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ 
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา 
เอสะภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ 
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลิกะระณีโย 
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ 
ตะมะหัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ 
ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิ (กราบ แล้วนั่งราบ) 

รตนัตตยัปปณามคาถา 
(ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถาโย เจวะ สังเวคะวัตถุปะริทีปะกะปาฐัญจะ ภะณามะ เส) 
พุทโธ สุสุทโธ กะรุณามะหัณณะโว 
โยจจันตะสุทธัพพะระญาณะโลจะโน 
โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก 
วันทามิ พุทธัง อะหะมาทะเรนะ ตัง 
ธัมโม ปะทีโป วิยะ ตัสสะ สัตถุโน โย 
มัคคะปากามะตะเภทะภินนะโก 
โลกุตตะโร โย จะ ตะทัตถะทีปะโน 
วันทามิ ธัมมัง อะหะมาทะเรนะ ตัง 
สังโฆ สุเขตาภยะติเขตตะสัญญิโต 
โย ทิฏฐะสันโต สุคะตานุโพธะโก 
โลลัปปะหีโน อะริโย สุเมธะโส 
วันทามิ สังฆัง อะหะมาทะเรนะ ตัง 
อิจเจวะเมกันตะภิปูชะเนยยะกัง วัตถุตตะยัง 
วันทะยะตาภิสังขะตัง ปุญญัง มะยา ยัง 
มะมะ สัพพุปัททะวา มา โหนตุ เว ตัสสะ ปะภาวะสิทธิยา 

สังเวคปริกิตตนปาฐะ 
อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน 
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ 
ธัมโม จะ เทสีโต นิยยานิโก 
อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต 
มะยันตัง ธัมมัง สุตวา เอวัง ชานามะ 

ชาติปิ ทุกขา ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง 
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา 
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข 
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง 
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา 
เสยยะถีทัง 
รูปูปาทานักขันโธ เวทะนูปาทานักขันโธ 
สัญญูปาทานักขันโธ สังขารูปาทานักขันโธ วิญญาณูปาทานักขันโธ 
เยสังปะริญญายะ ธะระมาโน โส ภะคะวา 
เอวัง พะหุลัง สาวเก วิเนติ 
เอวัง ภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ 
อะนุสาสะนี พะหุลา ปะวัตตะติ 
รูปัง อะนิจจัง เวทะนา อะนิจจา สัญญา อะนิจจา 
สังขารา อะนิจจา วิญญาณัง อะนิจจา 
รูปัง อะนัตตา เวทะนา อะนัตตา สัญญา อะนัตตา 
สังขารา อะนัตตา วิญญาณัง อะนัตตา 
สัพเพ สังขารา อะนิจจา สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ 
เต (ตา) มะยัง โอติณณามหะ ชาติยา ชะรามะระเณนะ 
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ 
ทุกโขติณณา ทุกขะปะเรตา อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ 
ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ 
จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง 
ภะคะวันตัง สะระณังคะตา 
ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ 
ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง ยะถาสะติ ยะถาพะลัง 
มะนะสิกะโรมะ อะนุปะฏิปัชชามะ 
สา สา โน ปะฏิปัตติ 
อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ 

จบทำวัตรเช้า แต่อาจต่อด้วยคาถากรวดน้ำตอนเช้าดังนี้ (มีข้อสังเกตุว่ามีหลายสำนวนด้วยกันและจะไม่เหมือนกัน) 

สัพพปัตติทานคาถา (กรวดน้ำระลึกพระคุณ) 
(ผู้นำสวดเริ่มว่า หันทะ มะยัง สัพพะปัตติทานะคาถาโย ภะณามะ เส) 
ปุญญัสสิทานิ กะตัสสะ ยานัญญานิ กะตานิ เม 
เตสัญจะ ภาคิโน โหนตุ สัตตานันตาปปะมาณะกะ 
เย ปิยา คุณะวันตา จะ มัยหัง มาตาปิตาทะโย 
ทิฏฐา เม จาปยะทิฏฐิ วา อัญเญ มัชฌัตตะเวริโน 
สัตตา ติฏฐันติ โลกัสมิง เต ภุมมา จะตุโยนิกา 
ปัญเจกะจะตุโวการา สังสะรันตา ภะวาภะเว 
ญาตัง เย ปัตติทานัมเม อะนุโมทันตุ เต สะยัง 
เย จิมัง นัปปะชานันติ เทวา เตสัง นิเวทะยุง 
มะยา ทินนานะ ปุญญานัง อะนุโมทะนะ เหตุนา 
สัพเพ สัตตา สะทา โหนตุ อะเวรา สุขะชีวิโน 
เขมัปปะทัญจะ ปัปโปนตุ เตสาสา สิชฌะตัง สุภา 

(จบแล้วกล่าวเพิ่มว่า) 
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา 
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ) 
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ) 
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆังนะมามิ (กราบ) 
มาตาปิตุอุปัฏฐานัง อะหัง วันทามิ (กราบ) 
คะรุอุปัชฌายะอาจาริยะคุณัง อะหัง วันทามิ (กราบ) 
บทสวดมนต์ก่อนนอน บทแผ่เมตตา

บทสวดอิติปิโส

บทสวดอิติปิโส


อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ. 

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ. 

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ. 


บทสวดอิติปิโสแปล

เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นผู้ไกลจากกิเลส และตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะเป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
เป็นผู้สามารถผฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า

เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความเจริญ เป็นผู้จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ดังนี้. (พุทธคุณ)

พระธรรม ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด

เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เป็นสิ่งที่ผู้รู้พึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้  (ธรรมคุณ)

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว
ได้แก่ บุคคลเหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ นั่นแหละพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านเป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ

เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้ (สังฆคุณ)  (กราบ)




บทสวดมนต์ก่อนนอน บทแผ่เมตตา

คำถวายสังฆทาน

คำถวายสังฆทาน


อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเต
ภิกขุ สังโฆ   อิมานิ ภัตตานิ สะปะริวารนิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวาย ซึ่งภัตตาหารกับของที่เป็นบริวาร
ทั้งหลายเหล่านี้แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับซึ่งภัตตาหารกับของ ที่เป็นบริวารทั้งหลาย
เหล่านี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ
บทสวดมนต์ก่อนนอน บทแผ่เมตตา

บทสวดพาหุง

บทสวดพาหุง

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ ( ๓ จบ )

พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ

สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติฯ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติฯ

พาหุงสะหัส สะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ครีเมขะลัง อุทิตะโฆ ระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

มาราติเร กะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

กัตตะวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะยะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกาวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฉฐะคาถา โย
วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ

มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ

ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะ พุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัมหมะจาริสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธีเต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณฯ

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต


บทสวดพาหุงแปล

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง (สามครั้ง)

ข้าพเจ้าขอถือเอา พระพุทธเจ้าเป็นสะระณะ
ข้าพเจ้าขอถือเอา พระธรรมเจ้าเป็นสะระณะ
ข้าพเจ้าขอถือเอา พระสงฆเจ้าเป็นสะระณะ

แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอา พระพุทธเจ้าเป็นสะระณะ
แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอา พระธรรมเจ้าเป็นสะระณะ
แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอา พระสงฆเจ้าเป็นสะระณะ

แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอา พระพุทธเจ้าเป็นสะระณะ
แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอา พระธรรมเจ้าเป็นสะระณะ
แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอา พระสงฆเจ้าเป็นสะระณะ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ทรงแจกจ่ายธรรม เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ดีโดยชอบด้วยพระองค์เอง ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชา และ จรณะ (ความรู้และความประพฤติ) เสด็จไปดี (คือไปที่ใดก็ยังประโยชน์ให้ที่นั้น) ทรงรู้แจ้งโลก ทรงเป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก หาผู้อื่นเปรียบมิได้ ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเป็นผู้ตื่น ทรงเป็นผู้แจกจ่ายธรรม

พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว อันผู้ปฏิบัติเห็นชอบได้ด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาลเวลา ควรเรียกมาดูได้ ควรนอบน้อมเข้าไปหา อันผู้รู้พึงรู้ได้ด้วยตนเอง

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติตรง พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความรู้ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติชอบ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนั้น จัดเป็นบุรุษสี่คู่ เป็นบุคคลแปด เป็นผู้ควรบูชา เป็นผู้ควรรับทิกษิณา เป็นผู้ควรกราบไหว้ เป็นเนื้อนาบุญของโลก หาสิ่งอื่นเปรียบมิได้

สมเด็จพระผู้มีพระภาค ผู้เป็นจอมของนักปราชญ์ ทรงชนะพญามารพร้อมด้วยเสนา ซึ่งเนรมิตแขนได้ตั้งพัน มีมือถืออาวุธครบทั้งพันมือ ขี่ช้างคิรีเมขล์ ส่งเสียงสนั่นน่ากลัว ทรงชนะด้วยธรรมวิธีมีทานบารมี เป็นต้น และด้วยเดชะของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า

สมเด็จพระผู้มีพระภาค พระจอมมุนีทรงชนะอาฬวกยักษ์ผู้โหดร้ายบ้าคลั่ง น่าสพึงกลัว ซึ่งต่อสู้กับพระองค์ ตลอดทั้งคืนรุนแรงยิ่งกว่าพญามาร จนละพยศร้ายได้สิ้น ด้วยขันติธรรมวิธีอันพระองค์ได้ฝึกไว้ดีแล้ว และด้วยเดชของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า

สมเด็จพระผู้มีพระภาค พระจอมมุนีทรงชนะพญาช้าง ชื่อ นาฬาคิรี ซึ่งกำลังตกมันจัด ทารุณโหดร้ายยิ่งนัก ดุจไฟป่าจักราวุธและสายฟ้า ด้วยพระเมตตาธรรม และด้วยเดชของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า

สมเด็จพระผู้มีพระภาค พระจอมมุนีทรงชนะมหาโจร ชื่อ องคุลีมาล ในมือถือดาบเงื้อง่าโหดร้ายทารุณยิ่ง วิ่งไล่ตามพระองค์ห่างออกไปเรื่อย ๆ เป็นระยะทางถึง ๓ โยชน์ ด้วยทรงบันดาลมโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ) และด้วยเดชของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า

สมเด็จพระผู้มีพระภาค พระจอมมุนีทรงชนะคำกล่าวใส่ร้ายท่ามกลางชุมชน ของนางจิญจมาณวิกา ผู้ผูกท่อนไม้ซ่อนไว้ที่ท้องแสร้งทำเป็นหญิงมีครรภ์ ด้วยความจริง ด้วยความสงบเยือกเย็นด้วยวิธีสมาธิอันงาม และด้วยเดชของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า

สมเด็จพระผู้มีพระภาค พระจอมมุนีทรงชนะสัจจกนิครนถ์ ผู้เชิดชูลัทธิของตนว่าจริงแท้อย่างเลิศลอย ราวกับชูธงขึ้นฟ้า ผู้มุ่งโต้วาทะกับพระองค์ ด้วยพระปัญญาอันเป็นเลิศดุจประทีปอันโชติช่วง ด้วยเทศนาญาณวิถี และด้วยเดชของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า

สมเด็จพระผู้มีพระภาค พระจอมมุนีทรงชนะพญานาคชื่อนันโทปนันทะ ผู้หลงผิดและมีฤทธิ์มาก ด้วยทรงแนะนำวิธี และ อิทธิฤทธิ์แก่พระโมคคัลลานะ พระเถระภุชงค์ พุทธบุตร ให้ไปปราบจนเชื่อง และด้วยเดชของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า

สมเด็จพระผู้มีพระภาค พระจอมมุนีทรงชนะพรหม ชื่อ ท้าวพูกะ ผู้รัดรึงทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดไว้แนบแน่น โดยสำคัญผิดว่าตนบริสุทธิ์มีฤทธิ์รุ่งโรจน์ด้วยวิธีวางยาอันวิเศษ คือ เทศนาญาณ และด้วยเดชของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า

แม้นรชนใดไม่เกียจคร้าน สวดก็ดี ระลึกก็ดี ซึ่งพุทธชัยมงคลคาถา ๘ บทนี้ ทุกวัน ย่อมเป็นเหตุให้พ้นอุปัทวอันตรายทั้งปวง นรชนผู้มีปัญญาย่อมถึงซึ่งความสุขสูงสุดแล สิวโมกข์นฤพานอันเป็นเอกันตบรมสุข

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ทรงประกอบด้วยพระมหากรุณา ทรงบำเพ็ญพระบารมีทั้งปวง เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด ด้วยการกล่าวสัจจวาจานี้ ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า

ขอข้าพเจ้าจงมีชัยชนะในชัยมงคลพิธี ดุจพระจอมมุนีผู้ยังความปีติยินดีให้เพิ่มพูนแก่ชาวศากยะ ทรงมีชัยชนะมาร ณ โคนต้นมหาโพธิ์ทรงถึงความเป็นเลิศยอดเยี่ยม ทรงปีติปราโมทย์อยู่เหนืออชิตบัลลังก์อันไม่รู้พ่าย ณ โปกขรปฐพี อันเป็นที่อภิเษกของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ฉะนั้นเถิด เวลาที่กำหนดไว้ดี งานมงคลดี รุ่งแจ้งดี ความพยายามดี ชั่วขณะหนึ่งดี ชั่วครู่หนึ่งดี การบูชาดี แด่พระสงฆ์ผู้บริสุทธิ์ กายกรรมอันเป็นกุศล วจีกรรมอันเป็นกุศล มโนกรรมอันเป็นกุศล ความปรารถนาดีอันเป็นกุศล ผู้ได้ประพฤติกรรมอันเป็นกุศล ย่อมประสบความสุขโชคดี เทอญ

ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ

ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ

ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ


พาหุงมหาการุณิโก คืออะไร

(หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี)

พาหุงมหากา คือ บทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ แล้วก็ พรพาหุงอันเริ่มด้วย พาหุงสะหัส จนไปถึง ทุคคาหะทิฏฐิ แล้วเรื่อยไปจนถึง มหาการุณิโกนาโถหิตายะ และจบลงด้วย "ภะวะตุสัพพะมังคะลัง สัพพะพุทธา สัพพะธรรมา สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต" อาตมาเรียกรวมกันว่า "พาหุงมหากาฯ"

อาตมาจึงเข้าใจในบัดนั้นเองว่า บทพาหุงนี้คือ บทสวดมนต์ที่ สมเด็จพระพนรัตน์ วัด ป่าแก้ว ได้ถวายให้พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไว้สวดเป็นประจำ เวลาอยู่กับพระบรมราชวัง และในระหว่างศึกสงคราม จึงปรากฏว่า พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเจ้า ทรงรบ ณ ที่ใดทรงมีชัยชนะอยู่ตลอดมา มิได้ทรงเพลี่ยงพล้ำเลย แม้จะเพียงลำพังสองพระองค์กับสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้า ท่ามกลางกองทัพพม่า ด้วยการกระทำยุทธหัตถี มีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา ณ ดอนเจดีย์ปูชนียสถาน แม้ข้าศึกจะยิงปืนไฟเข้าใส่พระองค์ในตอนที่เข้ากันพระศพของพระมหาอุปราชาออกไปราวกับห่าฝนก็มิปาน แต่ก็มิได้ต้องพระองค์ ด้วยเดชะพาหุงมหากา ที่ทรงเจริญอยู่เป็นประจำนั่นเอง อาตมาได้พบตามที่นิมิตแล้วก็ไต่ขึ้นมาด้วยความสบายใจ ถึงปากปล่องที่ลงไป เนื้อตัวมีแต่หยากไย่ เดินลงมาแม่ชีเห็นเข้ายังร้องว่า หลวงพ่อเข้าไปในโพรงนั่นมาหรือ แต่อาตมาไม่ตอบ

ตั้งแต่นั้นมา อาตมาจึงสอนการสวดพาหุงมหากาฯ ให้แก่ญาติโยมเป็นต้นมา เพราะอะไร เพราะพาหุงมหากานั้น เป็นบทสวดมนต์ที่มีค่ามากที่สุด มีผลดีที่สุด เพราะเป็นชัยชนะอย่างสูงสุดของพระบรมศาสดา จากพญาวัสดีมาร จากอาฬาวกะยักษ์ จากช้างนาฬาคีรี จากองคุลิมาล จากนางจิญมานวิกา จากสัจจะกะนิครนธ์ จากพญานันโทปนันทนาคราช และท่านท้าวผกาพรหม เป็นชัยชนะที่พระพุทธองค์ทรงได้มา ด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ และด้วยอำนาจแห่งบารมีธรรมโดยแท้ ผู้ใดได้สวดไว้เป็นประจำทุกวัน จะมีชัยชนะ มีความเจริญรุ่งเรือง ตลอดกาลนาน มีสติระลึกได้จะตายก็ไปสู่สุคติภูมิ

ขอให้คุณโยมช่วยประชาสัมพันธ์ให้ด้วยนะ ว่าให้สวดพาหุงมหากากันให้ถ้วนหน้า นอกจากจะคุ้มตัวแล้วยังคุ้มครอบครัวได้ สวดมาก ๆ เข้า สวดกันทั้งหลายประเทศ ก็ทำให้ประเทศมีแต่ความรุ่งเรือง พวกคนพาลสันดานหยาบก็แพ้ภัยไปอย่างถ้วนหน้า

ไม่เพียงแต่พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเท่านั้น ที่พบความมหัศจรรย์ของพบพาหุงมหากา แม้พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงพบเช่นกัน โดยมีบันทึกโบราณบอกไว้ดังนี้

"เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชตีเมืองจันทบุรีได้แล้วก็ทรงเล็งเห็นว่า สงครามกู้ชาติต่อจากนี้ไปจะต้องหนักหนาและยืดยาว จึงทรงโปรดเกล้าให้สร้างพระยอดธงแบบศรีอยุธยาขึ้น แล้วนิมนต์พระเถระทั้งหลายมาสวดบทพาหุงมหากาบรรจุไว้ในองค์พระ และพระองค์ก็ทรงเจริญรอยตาม พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ด้วยการเจริญพาหุงมหากา จึงบันดาลให้ทรงกู้ชาติสำเร็จ"
บทสวดมนต์ก่อนนอน บทแผ่เมตตา

บทสวดมนต์ก่อนนอน

การสวดบทสวดมนต์ก่อนนอน ทำให้เรามีสมาธิและได้แผ่ส่วนบุญส่วนกุศลที่ได้ทำมาในแต่ละวันทำให้เราเจอแต่สิ่งดีๆ ที่จะเข้ามาในชีวิต เรามาทบทวนบทสวดมนต์ที่ถูกต้องกัน

บทสวดมนต์ก่อนนอน

เริ่มต้น เราต้องกราบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์  (กราบ 3 ครั้ง)

บทสวดมนต์ บูชาพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ ฯ (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมัง นะมัสสามิ ฯ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ ฯ (กราบ)

บทสวดมนต์ แผ่เมตตาแก่ตนเอง

กราบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ (กราบ 3 ครั้ง)

อะหัง สุขิโต โหมิ ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
นิททุกโข โหมิ ปราศจากความทุกข์
อะเวโร โหมิ ปราศจากเวร
อัพยาปัชโฌ โหมิ ปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง
อะนีโฆ โหมิ ปราศจากความทุกข์การทุกข์ใจ
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ มีความสุขกายสุขใจรักษาตนให้พ้นจากทุกภัยทั้งสิ้นเถิด

บทสวดมนต์ แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์

สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
อัพะยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด

บทสวดมนต์ บทแผ่ส่วนกุศล

อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่บิดามารดาของข้าพเจ้า ขอให้บิดามารดาของข้าพเจ้ามีความสุข

อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของรข้าพเจ้ามีความสุข

อิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจริยา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้ามีความสุข

อิทัง สัพพะเทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เทวา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข

อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข

อิทัง สัพพะเวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เวรี
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข

อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมีความสุขทั่วหน้ากันเทอญ.

บทสวดมนต์ก่อนนอนที่ถูกต้อง ของการอธิฐานอโหสิกรรมต่อกัน

กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง สัญจิจจะกัมมัง อะสัญจิจจะกัมมัง ขะมันตุ เม อโหสิกัมมัง ภะวะตุ เม

กรรมใดๆ ที่ข้าพเจ้าได้ทำล่วงเกินแก่ผู้ใด โดยตั้งใจก็ดี ไม่ได้ตั้งใจก็ดี จงยกโทษให้เป็นอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้า
แม้กรรมใด ที่ใครทำแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าอโหสิกรรมให้ ยกถวายเป็นอภัยทาน ให้เขาเหล่านั้นมีเมตตาจิต คิดเป็นมิตรกับข้าพเจ้า จะได้ไม่มีเวรกรรมต่อกันตลอดไป

ด้วยอนิสงส์แห่งบุญนี้ ขอให้ข้าพเจ้าและครอบครัวพ้นจากความทุกข์ยากลำบากเข็ญใจ ปราถนาสิ่งใด อันเป็นไปโดยธรรม ขอให้สิ่งนั้น จงพลันสำเร็จด้วยเทอญ

นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ

เมื่อคุณสวดบทสวดมนต์ก่อนนอนที่ถูกต้องแล้วภาวนาบทสวดมนต์แล้ว จากนั้นให้นั่งทำสมาธิซักพักแล้วค่อยนอนจะดีที่สุด